พอดีเอารูปมาแปะในกระทู้นึงแล้วเห็นมีคนสนใจ ท่านขอมาเราก็จัดให้
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าเจ้า Button box นี่คืออะไร มีไว้ทำไม
แปลกันตรงตัวเลยก็คือกล่องปุ่มนั่นล่ะครับ หน้าตาก็จะเป็นกล่อง แล้วมีปุ่มต่างๆแบบนี้
![](http://www.simnewsdaily.com/wp-content/uploads/2012/01/bb5.png)
![](http://trinity-racing.com/wp-content/uploads/2010/06/button-box-580x485.jpg)
แล้วสรุปว่ามันเป็นอะไรกันแน่?
เรียกกันง่ายๆมันก็แค่จอยชนิดหนึ่งที่วางอยู่กับที่ มีหลายๆปุ่ม เรียกให้เข้าข่ายเทคนิคหน่อยก็เป็นอุปกรณ์ Direct Input (หรืออาจจะเป็น Xinput ก็ได้แล้วแต่พื้นฐานของระบบที่ใช้) เพิ่มอีกชิ้นเพื่อให้ใช้งานได้ฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้น
ทำไมถึงต้องมี?
สำหรับคนที่เล่นเกมทั่วไปแล้วคงคิดว่ามันไม่เห็นจะมีประโยชน์เลย แต่สำหรับคนที่เล่นแนว Simulation พวก Flight Simulation หรือ Racing Simulation แล้วจะสังเกตุได้เลยว่าในหน้าต่างการปรับแต่งการควบคุมนั้นมีปุ่มให้ตั้งมากมายชนิดที่เรียกว่าจอยที่ใช้มีปุ่มเท่าไหร่ก็ไม่พอ แบบนี้เป็นต้น
![](http://i268.photobucket.com/albums/jj35/Beaver_XT/game/r07ctrllist.jpg)
ในส่วนนี้เมื่อมีกล่องปุ่มนั้นก็ช่วยให้การเล่นทำได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากสามารถใช้งานสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น
จำเป็นต้องมีไหม?
จริงๆแล้วก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะมันเป็นแค่กล่องที่เราตั้งให้ใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆในเกม ดังนั้นใช้คีย์บอร์ดก็ได้(มีตั้ง 100กว่าปุ่ม)ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่ถ้ามีอุปกรณ์รับเข้าที่แยกแยะปุ่มต่างๆให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นก็สามารถเล่นได้สะดวกขึ้นครับ เพราะแต่ละปุ่มที่สำคัญๆนั้นจะถูกแยกออกมาโดยเฉพาะ ทำให้ความผิดพลาดในการกดนนั้นน้อยลง สรุปแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นเองว่าชอบแบบไหน
ข้อควรระวัง
โดยปกติแล้วพวก Simulation จะรองรับ input มากกว่า 1 ตัวเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางเกมที่ไม่สามรถทำได้ครับ ต้องดูด้วยว่าเกมที่เราเล่นนั้นสามารถใช้ input มากกว่าแค่ mouse, keyboard, direct input/xinput controller 1ชุดได้ไหม
แล้วสำหรับ Console ล่ะ?
เท่าที่เห็นว่าเกมคอนโซลนั้นจะไม่รองรับการควบคุมแบบหลาย input อยู่แล้ว ดังนั้นก็ไม่สามรถใช้งานได้ครับ
มาดูของทำเองกันดีกว่า ปกติเวลาทำของพวกนี้กันจะใช้พวก USB Controller ทำให้ใช้ปุ่มได้เยอะมาก แต่ต้นทุนก็แพงมากเหมือนกัน
ตัวอย่างจากของ http://www.leobodnar.com ใช้งานได้ถึง 32ปุ่มเลย(ไม่รวมอนาลอก, d-pad, rotary switch)ทีเดียว สนนราคาที่ 49.99ปอนด์(ประมาณ 2500 บาท)ไม่รวมค่าส่ง
![](http://www.leobodnar.com/products/BU0836X/BU0836Xlarge.jpg)
ผมจึงเลือกทำโดยเริ่มต้นจากการใช้ gamepad ที่ปุ่มหักหรือปุ่มเสียแล้ว แต่แผงวงจรยังไม่เสีย จากนั้นก็ซื้อปุ่มมา แล้วก็หากล่องที่พอจะใช้งานได้ในห้องมาเจาะ เรียกง่ายๆคือของรีไซเคิลเกือบทั้งนั้นนอกจากปุ่มที่ซื้อใหม่
อันนี้เป็นอันที่ผมทำเองนะครับ ทั้งหมดมี 10 ปุ่ม เป็น Buttons 6 ปุ่ม และ d-pad 4 ปุ่ม
![](http://i268.photobucket.com/albums/jj35/Beaver_XT/mystuff/buttonbox/btnbox_mk-ii_06.jpg)
สามารถดูวิธีทำได้จากกระทู้เหล่านี้
http://www.overclockzone.com/forums/...ad.php/1895551
http://www.overclockzone.com/forums/...ad.php/1964208
ข้อดี
- สามารถปรับแต่งได้ตามใจต้องการทั้งขนาดปุ่ม หน้าตาปุ่ม ตำแหน่งปุ่ม ฯลฯ
- สามารถเลือกวัสดุของตัวกล่องได้
- ใช้งานได้ตามปกติโดยที่ตัวเกมจะเห็นเป็นชื่อของจอยที่เอามาใช้ (Thrustmaster Firestrom Dual Analog 3.2 ในที่นี้)
- ถ้ามีฝีมือ สามารถดัดแปลงก้านอนาลอกที่ใช้มาเป็นแกนอื่น โดยนำ potentiometer หรือแม้แต่ load cell มาใส่แทนก็ยังได้
ข้อเสีย
- ต้องมีพื้นฐานด้านการบัดกรี ปอกสายไฟ เจาะ หั่น สับ ตัด โมดิฟายสิ่งของ พอสมควร
- ปุ่มมีจำนวนจำกัดเท่าที่บนตัวจอยจะมี ไม่ได้มีทีละหลายสิบอย่าง USB Controller ราคาแพง
- แผงวงจรขนาดไม่ค่อยมาตราฐาน ดังนั้นอาจมีปัญหานิดหน่อยเวลาประกอบเข้าไปในกล่อง
- ถ้าบัดกรีไม่เก่งสามารถทำให้เสียปุ่มไปเลยโดยถาวรได้ (ของผมเสียไป 3 ปุ่มจากทั้งหมด 12ปุ่ม)
ขอจบการแนะนำอุปกรณ์เสริมสั้นๆเพียงเท่านี้ล่ะ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับบางท่านบ้างครับ
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าเจ้า Button box นี่คืออะไร มีไว้ทำไม
แปลกันตรงตัวเลยก็คือกล่องปุ่มนั่นล่ะครับ หน้าตาก็จะเป็นกล่อง แล้วมีปุ่มต่างๆแบบนี้
![](http://www.simnewsdaily.com/wp-content/uploads/2012/01/bb5.png)
![](http://trinity-racing.com/wp-content/uploads/2010/06/button-box-580x485.jpg)
แล้วสรุปว่ามันเป็นอะไรกันแน่?
เรียกกันง่ายๆมันก็แค่จอยชนิดหนึ่งที่วางอยู่กับที่ มีหลายๆปุ่ม เรียกให้เข้าข่ายเทคนิคหน่อยก็เป็นอุปกรณ์ Direct Input (หรืออาจจะเป็น Xinput ก็ได้แล้วแต่พื้นฐานของระบบที่ใช้) เพิ่มอีกชิ้นเพื่อให้ใช้งานได้ฟังก์ชั่นที่เพิ่มขึ้น
ทำไมถึงต้องมี?
สำหรับคนที่เล่นเกมทั่วไปแล้วคงคิดว่ามันไม่เห็นจะมีประโยชน์เลย แต่สำหรับคนที่เล่นแนว Simulation พวก Flight Simulation หรือ Racing Simulation แล้วจะสังเกตุได้เลยว่าในหน้าต่างการปรับแต่งการควบคุมนั้นมีปุ่มให้ตั้งมากมายชนิดที่เรียกว่าจอยที่ใช้มีปุ่มเท่าไหร่ก็ไม่พอ แบบนี้เป็นต้น
![](http://i268.photobucket.com/albums/jj35/Beaver_XT/game/r07ctrllist.jpg)
ในส่วนนี้เมื่อมีกล่องปุ่มนั้นก็ช่วยให้การเล่นทำได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากสามารถใช้งานสิ่งต่างๆได้ง่ายขึ้น
จำเป็นต้องมีไหม?
จริงๆแล้วก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เพราะมันเป็นแค่กล่องที่เราตั้งให้ใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆในเกม ดังนั้นใช้คีย์บอร์ดก็ได้(มีตั้ง 100กว่าปุ่ม)ไม่เห็นจะเป็นอะไร แต่ถ้ามีอุปกรณ์รับเข้าที่แยกแยะปุ่มต่างๆให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นก็สามารถเล่นได้สะดวกขึ้นครับ เพราะแต่ละปุ่มที่สำคัญๆนั้นจะถูกแยกออกมาโดยเฉพาะ ทำให้ความผิดพลาดในการกดนนั้นน้อยลง สรุปแล้วก็ขึ้นอยู่กับผู้เล่นเองว่าชอบแบบไหน
ข้อควรระวัง
โดยปกติแล้วพวก Simulation จะรองรับ input มากกว่า 1 ตัวเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ก็จะมีบางเกมที่ไม่สามรถทำได้ครับ ต้องดูด้วยว่าเกมที่เราเล่นนั้นสามารถใช้ input มากกว่าแค่ mouse, keyboard, direct input/xinput controller 1ชุดได้ไหม
แล้วสำหรับ Console ล่ะ?
เท่าที่เห็นว่าเกมคอนโซลนั้นจะไม่รองรับการควบคุมแบบหลาย input อยู่แล้ว ดังนั้นก็ไม่สามรถใช้งานได้ครับ
มาดูของทำเองกันดีกว่า ปกติเวลาทำของพวกนี้กันจะใช้พวก USB Controller ทำให้ใช้ปุ่มได้เยอะมาก แต่ต้นทุนก็แพงมากเหมือนกัน
ตัวอย่างจากของ http://www.leobodnar.com ใช้งานได้ถึง 32ปุ่มเลย(ไม่รวมอนาลอก, d-pad, rotary switch)ทีเดียว สนนราคาที่ 49.99ปอนด์(ประมาณ 2500 บาท)ไม่รวมค่าส่ง
![](http://www.leobodnar.com/products/BU0836X/BU0836Xlarge.jpg)
ผมจึงเลือกทำโดยเริ่มต้นจากการใช้ gamepad ที่ปุ่มหักหรือปุ่มเสียแล้ว แต่แผงวงจรยังไม่เสีย จากนั้นก็ซื้อปุ่มมา แล้วก็หากล่องที่พอจะใช้งานได้ในห้องมาเจาะ เรียกง่ายๆคือของรีไซเคิลเกือบทั้งนั้นนอกจากปุ่มที่ซื้อใหม่
อันนี้เป็นอันที่ผมทำเองนะครับ ทั้งหมดมี 10 ปุ่ม เป็น Buttons 6 ปุ่ม และ d-pad 4 ปุ่ม
![](http://i268.photobucket.com/albums/jj35/Beaver_XT/mystuff/buttonbox/btnbox_mk-ii_06.jpg)
สามารถดูวิธีทำได้จากกระทู้เหล่านี้
http://www.overclockzone.com/forums/...ad.php/1895551
http://www.overclockzone.com/forums/...ad.php/1964208
ข้อดี
- สามารถปรับแต่งได้ตามใจต้องการทั้งขนาดปุ่ม หน้าตาปุ่ม ตำแหน่งปุ่ม ฯลฯ
- สามารถเลือกวัสดุของตัวกล่องได้
- ใช้งานได้ตามปกติโดยที่ตัวเกมจะเห็นเป็นชื่อของจอยที่เอามาใช้ (Thrustmaster Firestrom Dual Analog 3.2 ในที่นี้)
- ถ้ามีฝีมือ สามารถดัดแปลงก้านอนาลอกที่ใช้มาเป็นแกนอื่น โดยนำ potentiometer หรือแม้แต่ load cell มาใส่แทนก็ยังได้
ข้อเสีย
- ต้องมีพื้นฐานด้านการบัดกรี ปอกสายไฟ เจาะ หั่น สับ ตัด โมดิฟายสิ่งของ พอสมควร
- ปุ่มมีจำนวนจำกัดเท่าที่บนตัวจอยจะมี ไม่ได้มีทีละหลายสิบอย่าง USB Controller ราคาแพง
- แผงวงจรขนาดไม่ค่อยมาตราฐาน ดังนั้นอาจมีปัญหานิดหน่อยเวลาประกอบเข้าไปในกล่อง
- ถ้าบัดกรีไม่เก่งสามารถทำให้เสียปุ่มไปเลยโดยถาวรได้ (ของผมเสียไป 3 ปุ่มจากทั้งหมด 12ปุ่ม)
ขอจบการแนะนำอุปกรณ์เสริมสั้นๆเพียงเท่านี้ล่ะ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับบางท่านบ้างครับ
Comment