Announcement

Collapse
No announcement yet.

วิธีสร้าง Gif Animetion จากวีดีโอด้วย Photoshop

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • วิธีสร้าง Gif Animetion จากวีดีโอด้วย Photoshop

    ขอโทษทีครับ ทีแรกไปโพสต์ผิดห้อง เลยโพสต์ที่นี่ใหม่ครับ

    การจะทำ Gif Animetion จากไฟล์วีดีโอด้วยโปรแกรม Photoshop นั้นนะครับ เราจะต้องใช้โปรแกรม Photoshop รุ่นที่รองรับการทำงานด้านสื่อวีดีโอด้วยนะครับ ถ้าเป็น Photoshop รุ่น Standard จะทำไม่ได้ ในที่นี้ผมใช้ Photoshop CS3 Extended ครับ ในโปรแกรม Photoshop CS3 ทางบริษัท Adobe จะแบ่งออกเป็นสองรุ่นด้วยกันนะครับ คือ

    - Photoshop CS3 Standard จะเป็นรุ่นมาตรฐาน ซึ่งจะรองรับการทำงานด้างงานรูปภาพกราฟฟิกปรกติ
    - Photoshop CS3 Extended จะเป็นรุ่นท็อปหรือรุ่นแอดวานซ์ของ PS CS3 คือจะเพิ่มความสามารถด้านการทำงานที่เกี่ยวกับสื่อวีดีโอเพิ่มขึ้นมา

    ส่วนรุ่น CS4 หรือ CS5 ผมก็ยังไม่เคยใช้เหมือนกันครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่ารุ่น CS4/5 จะมีการแบ่งระดับแบบนี้หรือเปล่านะครับ

    เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาเข้าสู่ขั้นตอนของการทำกันเลยครับ

    1.อันดับแรกเราจะต้องอิมพอร์ทไฟล์วีดีโอเข้ามา แต่ก่อนที่จะอิมพอร์ทได้เราจะต้องติดตั้งโปรแกรม Quick Time ไว้ก่อนแล้วด้วยนะครับ เพราะโปรแกรม Quick Time จะเป็นตัวช่วยในการอ่านไฟล์วีดีโอครับ และไฟล์วีดีโอที่จะอิมพอร์ทเข้ามาได้ต้องเป็นไฟล์สกุล .MOV , .AVI , .MPG หรือ .MPEG เท่านั้นด้วยนะครับ (ในตัวอย่างผมใช้ไฟล์วีดีโอที่บันทึกมาจาก Emulator ของ Game Boy Advance เป็นไฟล์ .avi)

    เริ่มด้วยการคลิกไปที่ File > Import > Video Frames to Layers...


    2.จากนั้นจะปรากฎหน้าต่างวีดีโอขึ้นมา จะอธิบายดังนี้
    - From Beginning To End จะเป็นการเลือกเฟรมของวีดีโอตั้งแต่เฟรมเริ่มต้นไปจนถึงเฟรมสุดท้ายของวีดีโอนั้น ก็คือทั้งตัววีดีโอเลยครับ
    - Selected Range Only จะเป็นการเลือกเอาเฉพาะส่วนที่เราต้องการเท่านั้นครับ ถ้าเราเลือกหัวข้อนี้เราจะต้องกดปุ่ม Shift ค้างไว้แล้วเอาเมาส์ไปลากที่แทบบาร์ของวีดีโอ เพื่อเลือกเอาเฉพาะตำแหน่งวีดีโอที่เราต้องการ เมื่อเราลากจะปรากฎแทบสีดำขึ้นมาให้เราเห็น บ่งบอกให้รู้ว่าเราได้เลือกส่วนนั้น
    - Limit To Every.......Frames เป็นการเลือกตัดเฟรมภาพออกในแต่ละช่วงๆ โปรแกรมจะตัดเฟรมภาพออกให้เราอัตโนมัติ โดยเราต้องกรอกตัวเลขลงไปว่าจะให้ตัดออกในทุกๆ กี่เฟรม ในช่วงเวลาของวีดีโอแต่ละช่วงๆ การตัดเฟรมภาพออกจะช่วยทำให้ภาพเคลื่อนไหวเร็วขึ้นและลดจำนวนเฟรมที่มากเกินไป ซึ่งจะทำให้ภาพเกิดการสโลว์โมชั่น ผมแนะนำให้ตัดออกทุกๆ 2 เฟรม นะครับ ให้ติ๊กแล้วใส่เลข 2 แต่ในภาพตัวอย่างผมยังไม่ได้ติ๊ก
    - Make Frame Animetion เป็นการเลือกว่าจะให้โปรแกรมสร้างเฟรมในหน้าต่าง Animetion ให้เราเลยหรือไม่ ให้เลือกไว้ครับ
    (***หมายเหตุ โปรแกรมจะ Import เฟรมวีดีโอได้ไม่เกิน 250 เฟรมนะครับ ถ้าวีดีโอยาวมากมันก็จะถูกตัดทิ้งอัตโนมัตินะครับ ดังนั้น เลือกให้ดีครับ)

    จากนั้นกด OK


    3.เมื่อกด OK ลงไปแล้ววีดีโอที่เราเลือกไว้จะแสดงใน Layers จากนั้นให้เราคลิกที่ Window > Animetion เพื่อเปิดหน้าต่างการจัดการกับ Animetion ขึ้นมา


    4.ให้เราคลิกที่ปุ่มลูกศรเล็กๆ ที่มุมบนขวาของหน้าต่าง Animetion แล้วเลือก Select All Frames จะเป็นการเลือกเฟรมภาพทั้งหมด


    5.ให้เราคลิกลงไปที่ค่าความหน่วง ที่ ณ ตอนนี้คือ 0.05 sec. มันคือค่าความหน่วงของภาพถ้ายิ่งมีมากภาพก็นั้นๆ ก็จะหยุดค้างอยู่นาน ให้เราเลือก Nodelay คือไม่ต้องมีความหน่วงเลย ภาพจะได้เคลื่อนไวเร็ว ทุกเฟรมจะเปลี่ยนเป็น Nodelay ให้เราทั้งหมด
    (หากเราไม่ได้เลือก Selected All Frames ไว้ ก็จะเป็นการปรับทีละเฟรมเท่านั้น แต่กรณีนี้เราเลือก All Frames เราจึงเลือกแค่ครั้งเดียว ทุกเฟรมก็จะเปลี่ยนค่าให้ทั้งหมด)


    6.ที่มุมล่างซ้ายของหน้าต่าง Animetion เราจะเห็นคำว่า Forever เราสามารถคลิกลงไปแล้วเลือกได้ว่า จะให้ภาพเล่นวนซ้ำไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุดหรือเล่นครั้งเดียวแล้วหยุดไปเลยหรือเล่นกี่ครั้ง
    - Once จะเป็นการเล่นครั้งเดียวแล้วหยุดไปเลย
    - Forever จะเป็นการเล่นซ้ำไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด
    - Other (อื่นๆ) จะเป็นการปรับค่าเองแบบแมนวลว่าจะให้เล่นกี่ครั้ง

    แนะนำให้เลือก Forever เพื่อเล่นแบบไม่สิ้นสุด (ปรกติจะเป็นค่านี้มาอยู่แล้ว)


    7. จากนั้นเลือก File > Save for Web & Devices... (ต้องเลือกหัวข้อนี้นะครับ ไปเลือก save เฉยๆ ไม่ได้นะครับ)


    8.ในหน้าต่างเซฟงานนี้ เราต้องเลือกชนิดของไฟล์เป็น GIF เท่านั้นนะครับ ถึงจะได้เป็นภาพเคลื่อนไหว จะสังเกตเห็นว่าที่หน้าต่างมุมมอง จะมีแท็ปเมนูของมุมมองอยู่ที่มุมบนซ้ายมือ คือ
    - Original เป็นการดูภาพต้นฉบับ หน้าต่างนี้เราจะไม่สามารถมองเห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยแปลงจากค่าที่เราปรับลงไปได้ จะเห็นแต่ภาพต้นฉบับ
    - Opitimized คือหน้าต่างที่แสดงผลลัพธ์จริงหลังจากที่เราปรับค่าต่างๆ ทางด้านขวา (จะแสดงแบบหน้าต่างเดียว) แนะนำให้ดูที่หน้าต่างนี้
    - 2-Up เหมือนกับ Opitmized แต่จะแสดงให้เห็นทีเดียว 2 หน้าต่างหรือ 2 ตัวอย่างผลลัพธ์นั่นเอง
    - 4-Up ก็เช่นเดียวกัน จะแสดงภาพตัวอย่างของผลลัพธ์ทีเดียว 4 หน้าต่าง
    แต่การแสดงหลายๆ หน้าต่างพร้อมกันจะใช้ทรัพยากรย์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มาก หากเครื่องใครไม่ค่อยแรงแนะนำให้ดู 1 หน้าต่าง Optimized พอ แบบผม

    มาดูที่ตัวปรับค่าด้านขวามือบ้าง
    - Preset จะเป็นการเลือกค่าแบบอัตโนมัติ ให้เราเลือกเป็น GIF นะครับ มันจะมี GIF 2 แบบ คือแบบ Dithered กับแบบ No Dither แบบ Dithered จะเป็นแบบเม็ดสีหรือแบบสเปรย์ จะมีความละเลียดของภาพมากกว่า ส่วนแบบ No Dither จะเป็นแบบการแบ่งระดับสีจะมีคุณภาพต่ำกว่าแบบแรกแต่จะได้ไฟล์ที่เล็กกว่าด้วย
    - ส่วนช่องด้านล่าง Preset เราสามารถมาปรับเสริมได้อีกตามชอบ อธิบายคร่าวๆ แล้วกันครับ มันเยอะแล้ว ผมเริ่มขี้เกียจเขียนแล้ว เอาเป็นว่าช่องล่างนี้มาเน้นดูตรงช่อง Color ก็แล้วกันครับ ตามภาพนี่คือ 128 เฉดสี ถ้ายิ่งมากภาพก็ยิ่งสีสวย แต่ว่าไฟล์ก็จะใหญ่ตามไปด้วยเท่านั้นเองครับ ตรง Dither ก็คือจำนวนเม็ดสเปรย์สี อันนี้เราต้องเลือกเป็นภาพแบบ GIF Dither ด้วยนะครับ ถึงจะมีให้ปรับ ถ้าค่าเปอร์เซ็นยิ่งมากก็จะยิ่งมีเม็ดๆสีในภาพมากครับ ต้องลองดูแล้วจะเห็นภาพครับว่ามันเม็ดยังไง


    ตัวอย่างภาพหลังจากที่ทำเสร็จเรียบร้อย ทั้งหมด 33 เฟรม ตัดออกทุกๆ 2 เฟรม ไม่ใส่ค่าความหน่วง (No delay) 64 เฉดสี


    บทความโดย Gcutt
    http://asamithai.orgfree.com/board/
    Last edited by Gcutt; 28 Dec 2010, 21:58:59. Reason: โพสต์ผิดห้อง เลยโพสต์ใหม่

  • #2
    ดีครับ มีสาระมากๆ

    Comment


    • #3
      good job

      Comment


      • #4
        good job ^^

        Comment

        Working...
        X