Announcement

Collapse
No announcement yet.

ถามค่าโอมดอกลำโพงหน่อยครับ งงมากๆ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • [Review] ถามค่าโอมดอกลำโพงหน่อยครับ งงมากๆ

    คือว่าผมมีดอกลำโพงอยู่ 16 โอม รับกำลังขับได้ 50 watt rms
    แล้วถ้า 4 โอม จะรับกำลังขับได้เท่าไหร่ครับ คำนวณไม่เป็น รบกวนผู้รู้ชี้แนะหน่อยน่ะครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยจร้า

  • #2
    คิดเหมือนตัวต้านทานครับ
    ขนาน โอมห์ ลด วัตต์ เพิ่ม
    อนุกลม โอมห์ เพิ่ม วัตต์ลด

    Comment


    • #3
      ขอบคุณมากครับ ท่านเสือ

      Comment


      • #4
        Originally posted by tiger X-fi View Post
        คิดเหมือนตัวต้านทานครับ
        ขนาน โอมห์ ลด วัตต์ เพิ่ม
        อนุกลม โอมห์ เพิ่ม วัตต์ลด
        พี่เสือถามอีกทีครับ ถ้าแอมป์ผม กำลังขับ 50 watt ขับลำโพง 16 โอม
        แล้วถ้าหากลำโพง เหลือ 4 โอม กำลังขับแอมป์ผมจะเท่ากับเท่าไหร่ครับ จะเพิ่มหรือลด หรือจะขับลำโพงได้อีก 4 ดอกเลยครับ
        คำนวณไม่เป็นจริงๆครับ พอมีสูตรให้ผมไหมครับ ^_^
        Last edited by toolpak; 9 Aug 2013, 23:21:29.

        Comment


        • #5
          ตามที่คุณ tiger ว่าเลยครับ....

          ส่วนเรื่องที่ว่าจะเพิ่มได้กี่วัตต์ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่าย(แอมป์)ว่าสามารถจ่ายได้ขึ้นไปอีกเท่าตัวหรือเปล่า อย่างที่เคยเห็นๆในแอมป์บางยี่ห้อที่ระบุไว้ว่ากำลังขับ 100 วัตต์ที่ 8 โอห์ม และ 200 วัตต์ที่ 4 โอห์ม และก็ 400 วัตต์ที่ 2 โอห์ม แต่บางยี่ห้อก็ระบุไว้ว่า 100 วัตต์ที่ 8 แต่พอโอห์มลดลงมาเหลือ 4 โอห์ม ได้กำลังขับที่ 150 วัตต์ ...แบบนี้ก็มีครับ เพราะอยู่ที่อุปกรณ์และการออกแบบวงจร รวมถึงภาคจ่ายไฟที่ต้องจ่ายกระแสให้กับวงจรด้วย

          เพิ่มเติมอีกนิดครับว่าลำโพงทุกตัวทุกดอก ค่าโอห์มจะไม่คงที่เป๊ะๆแบบตัวต้านทาน ความต้านทานมันจะเปลี่ยนไปตามแรงดันและความถี่ที่ถูกป้อนเข้ามา

          ...สมมติว่าลำโพงของเราตอนที่ไม่ได้ต่อกับเครื่องขยายจะมีค่าความต้านทานรวม 8 โอห์ม แต่พอเราต่อใช้งานฟังเพลง ช่วงเสี่ยวหนึ่งความต้านทานมันจะลดลง เพราะความถี่เสียงที่ถูกป้อนเข้ามา แต่ถ้าความถี่เดียวค่ามันจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อไหร่ที่เราฟังเพลงที่มีเสียงทุ้ม เสียงกลอง แล้วก็เสียงระเบิด รวมถึงเสียงกรุ้งกริ้งต่างๆที่มันดังพร้อมกัน ค่าต้านทานตรงนี้จะเปลี่ยนไปมาก ยิ่งดอกลำโพงมีการขยับตัวมากเท่าไหร่ค่าก็เปลี่ยนมากขึ้นเหมือนกันครับ

          อย่างลำโพงบ้านตัวแพงๆยี่ห้อ thiel cs 6 ที่บอกว่าค่าความต้านทานปกติอยู่ที่ 4 โอห์ม(ต่ำสุด 2.3โอห์ม) แต่บางครั้งมันจะลดลงไปถึง 1 โอห์มแบบฉับพลันเลยครับ เพราะมันมีเรื่องของความถี่และแรงดันไฟฟ้า(ความดัง)ที่ป้อนเข้ามาครับ ทีนี้ถ้าแอมป์ไม่สามารถจ่ายกำลังได้แบบสบายๆมันจะเกิดเป็นเสียงพร่าจนเพี้ยน พอแอมป์เพี้ยนมากๆจากการทำงานเกินกำลัง เพราะอุปกรณ์มันเริ่มอ้อแอ้ ....มันก็จะมีแรงดันไฟแบบกระแสตรง(ไฟ DC) ออกมาที่ลำโพงจนทำให้วอยซ์คอล์ยไหม้ ซึ่งจะมาบรรจบกับลำโพงที่มีความต้านทานลดลงมามากๆก็ทนไม่ไหว พังไปตามๆกัน อยู่ที่ว่าใครจะพังก่อนพังหลังครับ

          Comment


          • #6
            Originally posted by Nukie View Post
            ตามที่คุณ tiger ว่าเลยครับ....

            ส่วนเรื่องที่ว่าจะเพิ่มได้กี่วัตต์ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่าย(แอมป์)ว่าสามารถจ่ายได้ขึ้นไปอีกเท่าตัวหรือเปล่า อย่างที่เคยเห็นๆในแอมป์บางยี่ห้อที่ระบุไว้ว่ากำลังขับ 100 วัตต์ที่ 8 โอห์ม และ 200 วัตต์ที่ 4 โอห์ม และก็ 400 วัตต์ที่ 2 โอห์ม แต่บางยี่ห้อก็ระบุไว้ว่า 100 วัตต์ที่ 8 แต่พอโอห์มลดลงมาเหลือ 4 โอห์ม ได้กำลังขับที่ 150 วัตต์ ...แบบนี้ก็มีครับ เพราะอยู่ที่อุปกรณ์และการออกแบบวงจร รวมถึงภาคจ่ายไฟที่ต้องจ่ายกระแสให้กับวงจรด้วย

            เพิ่มเติมอีกนิดครับว่าลำโพงทุกตัวทุกดอก ค่าโอห์มจะไม่คงที่เป๊ะๆแบบตัวต้านทาน ความต้านทานมันจะเปลี่ยนไปตามแรงดันและความถี่ที่ถูกป้อนเข้ามา Nukie

            ...สมมติว่าลำโพงของเราตอนที่ไม่ได้ต่อกับเครื่องขยายจะมีค่าความต้านทานรวม 8 โอห์ม แต่พอเราต่อใช้งานฟังเพลง ช่วงเสี่ยวหนึ่งความต้านทานมันจะลดลง เพราะความถี่เสียงที่ถูกป้อนเข้ามา แต่ถ้าความถี่เดียวค่ามันจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อไหร่ที่เราฟังเพลงที่มีเสียงทุ้ม เสียงกลอง แล้วก็เสียงระเบิด รวมถึงเสียงกรุ้งกริ้งต่างๆที่มันดังพร้อมกัน ค่าต้านทานตรงนี้จะเปลี่ยนไปมาก ยิ่งดอกลำโพงมีการขยับตัวมากเท่าไหร่ค่าก็เปลี่ยนมากขึ้นเหมือนกันครับ

            อย่างลำโพงบ้านตัวแพงๆยี่ห้อ thiel cs 6 ที่บอกว่าค่าความต้านทานปกติอยู่ที่ 4 โอห์ม(ต่ำสุด 2.3โอห์ม) แต่บางครั้งมันจะลดลงไปถึง 1 โอห์มแบบฉับพลันเลยครับ เพราะมันมีเรื่องของความถี่และแรงดันไฟฟ้า(ความดัง)ที่ป้อนเข้ามาครับ ทีนี้ถ้าแอมป์ไม่สามารถจ่ายกำลังได้แบบสบายๆมันจะเกิดเป็นเสียงพร่าจนเพี้ยน พอแอมป์เพี้ยนมากๆจากการทำงานเกินกำลัง เพราะอุปกรณ์มันเริ่มอ้อแอ้ ....มันก็จะมีแรงดันไฟแบบกระแสตรง(ไฟ DC) ออกมาที่ลำโพงจนทำให้วอยซ์คอล์ยไหม้ ซึ่งจะมาบรรจบกับลำโพงที่มีความต้านทานลดลงมามากๆก็ทนไม่ไหว พังไปตามๆกัน อยู่ที่ว่าใครจะพังก่อนพังหลังครับ
            โห สุดยอดมากๆเลยครับ เข้าใจแจ่มเลย จดไว้เลยครับ เป็นความรู้ที่ดีมากๆครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างมากน่ะครับ ท่าน

            Comment


            • #7
              ^
              ขอบคุณด้วยคนครับ

              Comment


              • #8
                เข้ามาตดครับ ความรู้ทั้งนั้น

                Comment


                • #9
                  Originally posted by jamejazz View Post
                  เข้ามาตดครับ ความรู้ทั้งนั้น

                  ท่านรีบพิมพ์ไวไป ฮ่าๆๆ เข้ามาตดกันเลยทีเดียวเชียว ฮ่าๆๆๆ แซวๆ จร้า

                  Comment


                  • #10
                    Originally posted by jamejazz View Post
                    เข้ามาตดครับ ความรู้ทั้งนั้น

                    Comment


                    • #11
                      อ่าว รีบเปิดหน้าต่างระบายลมเร็ว

                      Comment


                      • #12
                        Originally posted by toolpak View Post
                        คือว่าผมมีดอกลำโพงอยู่ 16 โอม รับกำลังขับได้ 50 watt rms
                        แล้วถ้า 4 โอม จะรับกำลังขับได้เท่าไหร่ครับ คำนวณไม่เป็น รบกวนผู้รู้ชี้แนะหน่อยน่ะครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยจร้า
                        o_0 ค่า impedance ของดอกลำโพง ไม่ได้บอกค่าทนวัตต์ของดอกนะ ไม่เกี่ยวกัน เช่น ลำโพงเล็กๆในเครื่องคอมฯสมัยก่อน 0.5W ก็ 6-8โอห์ม ได้
                        impedance ปกติที่ผู้ผลิตระบุมาของดอกลำโพง ตัวเดียว ก็คงที่นะ เปลี่ยนไม่ได้ ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องเอามาขนานหรืออนุกรมกันหลายตัว

                        ค่า impedance ของดอกลำโพงจะไปเกี่ยวกับกำลังขับของ Amplifier ก็ขึ้นกับ แอมป์รับโหลด impedance ได้เท่าไหร่ ที่ watt เท่าไหร่
                        ก็อ่านเอาจากคู่มือเอาน่ะ

                        Comment

                        Working...
                        X