หัวเว่ย วางเครือข่ายที่เชื่อถือได้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง
รถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุงของอินโดนีเซีย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "WHOOSH" ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว โดยรถไฟสายนี้ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงจากเดิม 3 ชั่วโมงครึ่ง เหลือเพียงแค่ 40 นาทีเท่านั้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง ในโอกาสนี้ หัวเว่ย (Huawei) ได้ผนึกกำลังกับ ไชน่า เรลเวย์ ซิกนัล แอนด์ คอมมิวนิเคชัน (China Railway Signal & Communication หรือ CRSC) และไชน่า เทเลคอม (China Telecom) วางเครือข่ายรถไฟสำหรับ WHOOSH โดยเฉพาะ เครือข่ายนี้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร การควบคุม และการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์ นับเป็นการมอบการสนับสนุนทางเทคนิคที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ เพื่อการเดินรถไฟอย่างชาญฉลาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
WHOOSH เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทอดยาวเป็นระยะทาง 142.3 กิโลเมตร ระหว่างกรุงจาการ์ตาเมืองหลวงของอินโดนีเซียกับเมืองบันดุงซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ WHOOSH ยังเป็นโครงการแรกนอกประเทศจีนที่ใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมดของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงของจีน และถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนถึงการเข้าสู่ยุครถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียอย่างเต็มตัว
WHOOSH ใช้ระบบควบคุมรถไฟจีนระดับ 3 (Chinese Train Control System Level 3 หรือ CTCS-3) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จีนพัฒนาขึ้นเอง ทั้งนี้ ด้วยความที่รถไฟแล่นด้วยความเร็วสูง อีกทั้งยังมีระยะ***งในการวิ่งค่อนข้างสั้น เครือข่ายการสื่อสารที่เสถียรและไว้ใจได้ซึ่งพร้อมมอบความปลอดภัยในระดับสูง แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ รวมถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษาที่ง่ายดาย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบควบคุมรถไฟ ซึ่งช่วยสร้างหลักประกันว่ารถไฟจะเดินทางได้อย่างปลอดภัย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
คุณไล่ เฉาเซิน (Lai Chaosen) รองประธานบริษัท หัวเว่ย อินโดนีเซีย (Huawei Indonesia) กล่าวว่า เครือข่ายไร้สายจากขบวนรถไฟถึงภาคพื้น (train-to-ground) ของ WHOOSH ใช้โซลูชันที่สมบูรณ์แบบของหัวเว่ย และใช้การแทรกสลับเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานมีความครอบคลุมและราบรื่น ด้วยระดับความพร้อมใช้งานที่สูงถึง 99.99% เครือข่ายนี้จึงรับประกันได้ว่าการส่งสัญญาณควบคุมรถไฟจะมีความเสถียรสูง มีการจัดการอัจฉริยะ รวมถึงมีการกำหนดหมายเลขขบวนรถไฟและหมายเลขการทำงานอย่างถูกต้องแม่นยำ
เครือข่ายข้อมูลดังกล่าวใช้อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลรุ่นใหม่ของหัวเว่ย ซึ่งรับประกันเครือข่ายที่ปลอดภัย 100% ผ่านการใช้โซลูชันเครือข่ายเนทีฟฮาร์ดไปป์ (Native Hard Pipe) โดยทุกลิงก์เครือข่ายจะมีระบบสำรอง (Redundancy) คอยปกป้อง และสามารถสลับไปใช้ระบบสำรองได้ภายใน 35 มิลลิวินาทีเท่านั้น
เครือข่ายการส่งสัญญาณดังกล่าวใช้อุปกรณ์ไฮบริด เอ็มเอสทีพี (Hybrid MSTP) ของหัวเว่ย ที่มีแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่และมีความเสถียรสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบของรถไฟความเร็วสูงกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบกำหนดเวลาและสั่งการ ระบบป้องกันภัยพิบัติ ระบบกล้องวงจรปิด ระบบออกบัตรโดยสาร และระบบควบคุมไฟฟ้าระยะไกล นอกจากนี้ เครือข่ายดังกล่าวยังสามารถตอบสนองความต้องการของบริการรถไฟหากมีการขยายตัวหรือการพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
คุณหลิว เจียผิง (Liu Jieping) รองหัวหน้าวิศวกรของ CRSC ประจำโครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง ระบุว่า การเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง WHOOSH ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของจีนในการดำเนินกลยุทธ์การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก โดยเครือข่ายไร้สายจากขบวนรถไฟถึงภาคพื้น เครือข่ายส่งสัญญาณ เครือข่ายข้อมูล และโซลูชันระบบอื่น ๆ ที่หัวเว่ยรับหน้าที่จัดหาให้นั้น ได้สร้างเครือข่ายการสื่อสารคุณภาพสูงเพื่อ WHOOSH พร้อมให้การสนับสนุนทางเทคนิคที่ไว้วางใจได้ เพื่อการเดินรถไฟอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
คุณดวิยานา สลาเมต ริยาดี (Dwiyana Slamet Riyadi) ประธานกรรมการบริษัท เคเรตา เซปัต อินโดนีเซีย ไชน่า จำกัด (PT Kereta Cepat Indonesia China หรือ KCIC) กล่าวว่า "เราขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหัวเว่ยและ CRSC ที่ทุ่มเทจัดหาโซลูชันทางเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของรถไฟความเร็วสูง WHOOSH โดยการใช้โซลูชันทางเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว รวมถึงโซลูชันการดำเนินงานของรถไฟความเร็วสูง WHOOSH จะกลายเป็นเกณฑ์อ้างอิงและมาตรฐานสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูงแห่งอื่น ๆ ในอินโดนีเซีย ตลอดจนโครงการในลักษณะเดียวกันนี้สำหรับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนต่อไปในอนาคต"
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/223...84_7531269.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/223...84_7531380.jpg
รถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุงของอินโดนีเซีย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "WHOOSH" ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว โดยรถไฟสายนี้ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุงจากเดิม 3 ชั่วโมงครึ่ง เหลือเพียงแค่ 40 นาทีเท่านั้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดเส้นทาง ในโอกาสนี้ หัวเว่ย (Huawei) ได้ผนึกกำลังกับ ไชน่า เรลเวย์ ซิกนัล แอนด์ คอมมิวนิเคชัน (China Railway Signal & Communication หรือ CRSC) และไชน่า เทเลคอม (China Telecom) วางเครือข่ายรถไฟสำหรับ WHOOSH โดยเฉพาะ เครือข่ายนี้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร การควบคุม และการเดินขบวนรถไฟแบบเรียลไทม์ นับเป็นการมอบการสนับสนุนทางเทคนิคที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้ เพื่อการเดินรถไฟอย่างชาญฉลาด ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
WHOOSH เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทอดยาวเป็นระยะทาง 142.3 กิโลเมตร ระหว่างกรุงจาการ์ตาเมืองหลวงของอินโดนีเซียกับเมืองบันดุงซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ WHOOSH ยังเป็นโครงการแรกนอกประเทศจีนที่ใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมดของห่วงโซ่คุณค่าอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงของจีน และถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่สะท้อนถึงการเข้าสู่ยุครถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซียอย่างเต็มตัว
WHOOSH ใช้ระบบควบคุมรถไฟจีนระดับ 3 (Chinese Train Control System Level 3 หรือ CTCS-3) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จีนพัฒนาขึ้นเอง ทั้งนี้ ด้วยความที่รถไฟแล่นด้วยความเร็วสูง อีกทั้งยังมีระยะ***งในการวิ่งค่อนข้างสั้น เครือข่ายการสื่อสารที่เสถียรและไว้ใจได้ซึ่งพร้อมมอบความปลอดภัยในระดับสูง แบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ รวมถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษาที่ง่ายดาย จึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับระบบควบคุมรถไฟ ซึ่งช่วยสร้างหลักประกันว่ารถไฟจะเดินทางได้อย่างปลอดภัย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
คุณไล่ เฉาเซิน (Lai Chaosen) รองประธานบริษัท หัวเว่ย อินโดนีเซีย (Huawei Indonesia) กล่าวว่า เครือข่ายไร้สายจากขบวนรถไฟถึงภาคพื้น (train-to-ground) ของ WHOOSH ใช้โซลูชันที่สมบูรณ์แบบของหัวเว่ย และใช้การแทรกสลับเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานมีความครอบคลุมและราบรื่น ด้วยระดับความพร้อมใช้งานที่สูงถึง 99.99% เครือข่ายนี้จึงรับประกันได้ว่าการส่งสัญญาณควบคุมรถไฟจะมีความเสถียรสูง มีการจัดการอัจฉริยะ รวมถึงมีการกำหนดหมายเลขขบวนรถไฟและหมายเลขการทำงานอย่างถูกต้องแม่นยำ
เครือข่ายข้อมูลดังกล่าวใช้อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลรุ่นใหม่ของหัวเว่ย ซึ่งรับประกันเครือข่ายที่ปลอดภัย 100% ผ่านการใช้โซลูชันเครือข่ายเนทีฟฮาร์ดไปป์ (Native Hard Pipe) โดยทุกลิงก์เครือข่ายจะมีระบบสำรอง (Redundancy) คอยปกป้อง และสามารถสลับไปใช้ระบบสำรองได้ภายใน 35 มิลลิวินาทีเท่านั้น
เครือข่ายการส่งสัญญาณดังกล่าวใช้อุปกรณ์ไฮบริด เอ็มเอสทีพี (Hybrid MSTP) ของหัวเว่ย ที่มีแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่และมีความเสถียรสูง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับระบบของรถไฟความเร็วสูงกว่า 20 ระบบ อาทิ ระบบกำหนดเวลาและสั่งการ ระบบป้องกันภัยพิบัติ ระบบกล้องวงจรปิด ระบบออกบัตรโดยสาร และระบบควบคุมไฟฟ้าระยะไกล นอกจากนี้ เครือข่ายดังกล่าวยังสามารถตอบสนองความต้องการของบริการรถไฟหากมีการขยายตัวหรือการพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต
คุณหลิว เจียผิง (Liu Jieping) รองหัวหน้าวิศวกรของ CRSC ประจำโครงการรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง ระบุว่า การเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง WHOOSH ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของจีนในการดำเนินกลยุทธ์การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงทั่วโลก โดยเครือข่ายไร้สายจากขบวนรถไฟถึงภาคพื้น เครือข่ายส่งสัญญาณ เครือข่ายข้อมูล และโซลูชันระบบอื่น ๆ ที่หัวเว่ยรับหน้าที่จัดหาให้นั้น ได้สร้างเครือข่ายการสื่อสารคุณภาพสูงเพื่อ WHOOSH พร้อมให้การสนับสนุนทางเทคนิคที่ไว้วางใจได้ เพื่อการเดินรถไฟอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
คุณดวิยานา สลาเมต ริยาดี (Dwiyana Slamet Riyadi) ประธานกรรมการบริษัท เคเรตา เซปัต อินโดนีเซีย ไชน่า จำกัด (PT Kereta Cepat Indonesia China หรือ KCIC) กล่าวว่า "เราขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะหัวเว่ยและ CRSC ที่ทุ่มเทจัดหาโซลูชันทางเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานรถไฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของรถไฟความเร็วสูง WHOOSH โดยการใช้โซลูชันทางเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว รวมถึงโซลูชันการดำเนินงานของรถไฟความเร็วสูง WHOOSH จะกลายเป็นเกณฑ์อ้างอิงและมาตรฐานสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูงแห่งอื่น ๆ ในอินโดนีเซีย ตลอดจนโครงการในลักษณะเดียวกันนี้สำหรับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนต่อไปในอนาคต"
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/223...84_7531269.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/223...84_7531380.jpg