Announcement

Collapse
No announcement yet.

หัวเว่ยชูนวัตกรรม 5.5G ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2566

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • หัวเว่ยชูนวัตกรรม 5.5G ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2566

    หัวเว่ยชูนวัตกรรม 5.5G ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส 2566 มุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจดิจิทัลและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง



    หัวเว่ย (Huawei) เตรียมปรากฏตัวอย่างยิ่งใหญ่ภายในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 ภายใต้ธีม "แนวทางสู่โลกอัจฉริยะ" (GUIDE to the Intelligent World) โดยกิจกรรมของบริษัทในปีนี้ประกอบด้วยการพาชมเมืองต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและธุรกิจของบริษัท ตลอดจนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชัน "5กิกะกรีน" (5GigaGreen) เครือข่ายหลักอัจฉริยะ 5G, เครือข่ายอัจฉริยะอ็อปติกส์ (OptiX Networks), สายส่วนบุคคล + ผลิตภัณฑ์ X (private line + X products) และโซลูชันอัจฉริยะอื่น ๆ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

    ในระหว่างกิจกรรมเหล่านี้ หัวเว่ยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมโต๊ะกลมและการเสวนาร่วมกับผู้ให้บริการระดับโลก พันธมิตรในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิด เพื่อสำรวจหัวข้อที่หลากหลาย ครอบคลุมการเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ และก้าวสู่ยุค 5.5G เพื่อนำประโยชน์มาสู่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ลูกค้าและฟื้นฟูเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนวัตกรรมที่ยั่งยืน

    คุณซาบรินา เมิ่ง (Sabrina Meng) ประธานหมุนเวียนและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "การเปิดรับการเปลี่ยนแปลง 5G" (Embracing 5G transformation) โดยระบุว่า "โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลกอัจฉริยะแห่งอนาคตจะถูกรวมเข้ากับทุกแง่มุมของชีวิต อุตสาหกรรม และสังคมของเราอย่างลึกซึ้ง และจะไม่ขึ้นตรงต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง แต่จะอาศัยระบบที่ยิ่งใหญ่และซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ กล่าวคือเป็นการบรรจบกันขององค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ความคิดและการออกแบบในระดับระบบ เช่นเดียวกับเกมหมากรุกที่ผู้ชมจะเห็นแค่ภาพใหญ่โดยรวม แต่ผู้เล่นจะต้องให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียดด้วย ความสามารถในการรวมเทคโนโลยีอย่างเป็นระบบและการจัดการการเปลี่ยนแปลงจึงมีความสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของ 5G ทั้งนี้ เมื่อพูดถึงการผสานรวมเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เราสามารถบรรลุการผนึกกำลังที่มากขึ้นทั่วทั้งคลาวด์ เครือข่าย เอดจ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านการออกแบบและนวัตกรรมที่เป็นระบบในโดเมนต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เมื่อถูกจับคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ชิป และอัลกอริทึม จะทำให้เราสามารถจัดการกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโซลูชันที่ซับซ้อนสำหรับสถานการณ์การใช้งานในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันออกไปอย่างมาก นอกจากนี้ เมื่อกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการแล้ว การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการมากกว่า เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจำเป็นต้องกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน เหตุการณ์ สิ่งของ และทฤษฎี รวมถึงมีการปรับใช้แนวทางการจัดการที่เปิดกว้างและรองรับอนาคตเพื่อรับมือกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้น"

    ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 5G มากกว่า 1.2 พันล้านรายทั่วโลก ส่งผลให้ผู้ให้บริการที่พัฒนาเทคโนโลยี 5G อย่างรวดเร็วสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในช่วงแรกไปได้ สิ่งเหล่านี้เกิดจากข้อกำหนดด้านเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานรูปแบบใหม่ในตลาดต่าง ๆ ดังเช่นในตลาดผู้บริโภคที่มีบริการใหม่อย่างนิวคอลลิ่ง (New Calling), โทรศัพท์บนคลาวด์ และนวัตกรรมสามมิติปราศจากแว่นตา ทั้งหมดนี้ต้องการอัตราข้อมูลที่เร็วขึ้นและเวลาแฝงที่ต่ำลง ขณะที่ในตลาดอุตสาหกรรม อีโคซิสเต็มเรดแค็ป (RedCap) ได้เติบโตเต็มที่แล้ว ตลาด IoT แบบพาสซีฟกำลังขยายตัว และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) มีความต้องการความเร็วอัปลิงก์ที่สูงขึ้น การใช้งานรอบด้านเหล่านี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนล้านครั้ง และจะขับเคลื่อนการยกระดับอุตสาหกรรมรวมถึงสร้างผลประโยชน์ในระยะที่สองเป็นอย่างมาก

    ด้านบริการ 5G เชิงพาณิชย์ที่เข้าสู่ตลาดเมื่อ 4 ปีที่แล้วได้ถูกนำไปใช้กับโครงการเครือข่ายส่วนบุคคลมากกว่า 17,000 โครงการทั่วโลก รายได้ทั้งจากเครือข่ายส่วนบุคคล 5G และจำนวนการเชื่อมต่อทางอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่า นอกจากนี้ ผู้ให้บริการหลายรายได้ใช้ประโยชน์จากรายได้จำนวน 1 หมื่นล้านหยวนที่ได้จากเครือข่ายส่วนบุคคลแบบ 5GtoB ในการผลักดันรายได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจนแตะที่ระดับ 1 แสนล้านหยวนจากบริการคลาวด์ การจัดเก็บข้อมูล และบริการแพลตฟอร์ม แม้ว่าบริการ 5GtoB จำนวนมากจะมีการนำร่องในประเทศจีน แต่ก็ได้ขยายไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลก และถูกนำไปใช้เชิงพาณิชย์ในเอเชียแปซิฟิก ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา บริการเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การผลิต ท่าเรือ เหมือง แหล่งน้ำมัน และการดูแลสุขภาพ

    นอกจากนี้ นวัตกรรม 5.5G ก็เป็นสิ่งที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการสื่อสาร เทคโนโลยี 5.5G มีแนวโน้มที่จะยกระดับความสามารถเครือข่ายได้ถึง 10 เท่า และสร้างโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้นกว่า 100 เท่าสำหรับผู้ให้บริการ โดยภายในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรสปีนี้ หัวเว่ยจะจัดแสดง 4 ฟีเจอร์หลักของเทคโนโลยี 5.5G ประกอบด้วย ดาวน์ลิงก์ 10 กิกะบิต/วินาที, อัปลิงก์ 1 กิกะบิต/วินาที, การเชื่อมต่อ 1 แสนล้านครั้ง และเอไอแบบเนทีฟ นอกจากนี้ ยังจะสำรวจการเชื่อมต่อ 5 ประการที่คาดว่าจะได้รับความนิยมอย่างมากในอนาคตด้วยเทคโนโลยี 5.5G ได้แก่ การเชื่อมต่อสำหรับผู้คน สิ่งของ ยานพาหนะ อุตสาหกรรม และครัวเรือน โดยในปัจจุบัน หัวเว่ยได้เริ่มมอบความช่วยเหลือผู้ให้บริการหลายรายทั่วโลกในการตรวจสอบเชิงพาณิชย์สำหรับเทคโนโลยี 5.5G แล้ว ทั้งนี้ อุตสาหกรรม 5.5G จะยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากคาดการณ์ว่ามาตรฐาน 5.5G ชุดแรกจะได้รับการรับรองในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ขณะที่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้รับการตรวจสอบแล้วเป็นจำนวนมาก

    งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยหัวเว่ยจะร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธ E10 และ E50 ณ ฮอลล์ 1 ของศูนย์จัดแสดงสินค้านานาชาติเซี่ยงไฮ้ (SNIEC) หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดในการอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G การก้าวสู่ยุค 5.5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5.5G ได้มอบโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) สนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากในขณะที่กำลังก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwcs2023

    รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/214...nghai_2023.jpg
Working...
X