dBi, dBd, dB?
คำถามแรกก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสายอากาศ มักจะถามว่ามีอัตราขยาย (Gain) เท่าไหร่ ก็ดูที่ข้างซอง แบบไหนตัวเลขสูงกว่าก็เลือกซื้อแบบนั้น เพื่อให้ซื้อง่ายขายคล่อง ส่วนใหญ่เขียนตัวเลขสูง ๆ และถูกต้องตามหลักการด้วย
อัตราขยายมีหน่วยเป็น dB แล้วที่พิมพ์ไว้เป็นทั้ง dBd, dBi และ dB เฉย ๆ ต่างกันอย่างไรล่ะ
dBd หมายถึงหน่วยของอัตราขยายของสายอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Dipole ตัว d หมายถึงสายอากาศแบบ Dipole นั่นเอง สายอากาศแบบ Dipole มีอัตราขยายเท่ากับ 0 dB
dBi หมายถึงหน่วยของอัตราขยายของสายอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Isotopic ตัว I ก็หมายถึงสายอากาศแบบ Isotopic สายอากาศแบบ Isotopic เมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Dipole มีอัตราขยายเท่ากับ 2.15 dBi
เพราะฉะนั้น อัตราขยาย 0 dBd จึงเท่ากับ 2.15 dBi สายอากาศที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นนิยมเขียนเป็นหน่วย dBi จึงดูเหมือนว่ามีอัตรายายสูง
dB เฉย ๆ ระยะแรกสินค้าจากญี่ปุ่นจะเขียนเป็นหน่วย dBi ซึ่งจะมีตัวเลขสูงกว่าหน่วย dBd ซึ่งนิยมใช้ในแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจากดูพฤติกรรมของผู้ซื้อ จึงเขียนหน่วยใหม่เป็น dB เฉย ๆ อันนี้จะเขียนเท่าไหร่ก็ได้ ตัวเลขจึงสูงกว่าปกติมาก และไม่ถูกฟ้องร้องว่าหลอกลวงผู้บริโภคด้วย เพราะเขาจะไม่เปรียบเทียบกับสายอากาศทั้งแบบ Dipole และ Isotopic เขาเปรียบเทียบกับสายอากาศที่เขาคิดขึ้นเองก็ได้
อัตราขยายเพิ่มขึ้น 3 dB ทำไมน้อยจัง
3 dB หมายถึงเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาตั้งให้มันปวดหัวเล่นทำไม ถ้าสายอากาศท่านมีอัตราขยาย 3 dBd หมายความว่า เมื่อท่านส่งออกอากาศด้วยกำลังส่ง 1 วัตต์ สายอากาศจะเพิ่มกำลังส่งอีก 1 เท่า กลายเป็น 2 วัตต์ (ยังไม่หักลบอัตราสูญเสียในสายนำสัญญาณ) ท่านลองคิดดูว่าที่ 18.8 dBd เพิ่มขึ้นอีก 3 dBd ถ้าออกอากาศที่ต้นทาง 1 วัตต์ ปลายทางจะเป็นกำลังส่งเท่าไหร่ ถ้าไม่ใช้สายอากาศแบบยากิ จะต้องใช้สายอากาศแบบ Folded Dipole ทั้งหมดกี่ห่วง
ที่มา:http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=610.0
คำถามแรกก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสายอากาศ มักจะถามว่ามีอัตราขยาย (Gain) เท่าไหร่ ก็ดูที่ข้างซอง แบบไหนตัวเลขสูงกว่าก็เลือกซื้อแบบนั้น เพื่อให้ซื้อง่ายขายคล่อง ส่วนใหญ่เขียนตัวเลขสูง ๆ และถูกต้องตามหลักการด้วย
อัตราขยายมีหน่วยเป็น dB แล้วที่พิมพ์ไว้เป็นทั้ง dBd, dBi และ dB เฉย ๆ ต่างกันอย่างไรล่ะ
dBd หมายถึงหน่วยของอัตราขยายของสายอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Dipole ตัว d หมายถึงสายอากาศแบบ Dipole นั่นเอง สายอากาศแบบ Dipole มีอัตราขยายเท่ากับ 0 dB
dBi หมายถึงหน่วยของอัตราขยายของสายอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Isotopic ตัว I ก็หมายถึงสายอากาศแบบ Isotopic สายอากาศแบบ Isotopic เมื่อเปรียบเทียบกับสายอากาศแบบ Dipole มีอัตราขยายเท่ากับ 2.15 dBi
เพราะฉะนั้น อัตราขยาย 0 dBd จึงเท่ากับ 2.15 dBi สายอากาศที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นนิยมเขียนเป็นหน่วย dBi จึงดูเหมือนว่ามีอัตรายายสูง
dB เฉย ๆ ระยะแรกสินค้าจากญี่ปุ่นจะเขียนเป็นหน่วย dBi ซึ่งจะมีตัวเลขสูงกว่าหน่วย dBd ซึ่งนิยมใช้ในแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจากดูพฤติกรรมของผู้ซื้อ จึงเขียนหน่วยใหม่เป็น dB เฉย ๆ อันนี้จะเขียนเท่าไหร่ก็ได้ ตัวเลขจึงสูงกว่าปกติมาก และไม่ถูกฟ้องร้องว่าหลอกลวงผู้บริโภคด้วย เพราะเขาจะไม่เปรียบเทียบกับสายอากาศทั้งแบบ Dipole และ Isotopic เขาเปรียบเทียบกับสายอากาศที่เขาคิดขึ้นเองก็ได้
อัตราขยายเพิ่มขึ้น 3 dB ทำไมน้อยจัง
3 dB หมายถึงเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เขาตั้งให้มันปวดหัวเล่นทำไม ถ้าสายอากาศท่านมีอัตราขยาย 3 dBd หมายความว่า เมื่อท่านส่งออกอากาศด้วยกำลังส่ง 1 วัตต์ สายอากาศจะเพิ่มกำลังส่งอีก 1 เท่า กลายเป็น 2 วัตต์ (ยังไม่หักลบอัตราสูญเสียในสายนำสัญญาณ) ท่านลองคิดดูว่าที่ 18.8 dBd เพิ่มขึ้นอีก 3 dBd ถ้าออกอากาศที่ต้นทาง 1 วัตต์ ปลายทางจะเป็นกำลังส่งเท่าไหร่ ถ้าไม่ใช้สายอากาศแบบยากิ จะต้องใช้สายอากาศแบบ Folded Dipole ทั้งหมดกี่ห่วง
ที่มา:http://www.hamsiam.com/smf/index.php?topic=610.0
Comment