Announcement

Collapse
No announcement yet.

แคชสำหรับ P2P มีมา 7 ปีแล้ว!!! เผื่อใครไม่รู้

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • แคชสำหรับ P2P มีมา 7 ปีแล้ว!!! เผื่อใครไม่รู้

    ที่มาข่าว : http://www.blognone.com/node/2326

    True ติดตั้งแคชสำหรับ P2P 14/05/06


    หลังจาก True เปิดตัว Hi-Speed Internet เมื่อปีที่แล้วก็ทำให้วงการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยคึกคักถนัดตา ผลพลอยได้ของความเร็วก็คือ ดาวน์โหลด และก็หนีไม่พ้น P2P ทั้งหลายแหล่ ปัญหาความเร็วตกเลยเกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วไปยังต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหานี้ True และ ISP อีกหลายเจ้าได้ใช้วิธีห้ามใช้ P2P แบบเงียบๆ ด้วยไฟร์วอลล์หรือไม่ก็ Bandwidth Shaper ผลก็เป็นตามคาด ลูกค้าหนีไปไม่น้อย พวกที่ยังติดสัญญาก็ใช้ความสามารถของซอฟต์แวร์เพื่อเข้ารหัสให้พ้นการตรวจจับ สุดท้ายแล้วก็ปัญหาเดิม ตำรวจกับขโมย

    ในที่สุดปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไขจาก True อย่างค่อนข้างน่าประทับใจ วิธีที่ว่าง่ายซะยิ่งกว่าง่าย มีเงินซะอย่างแค่นี้เล็กน้อย เทียบกับลูกค้าแล้วผมว่าคุ้ม วิธีที่ว่าก็คือ Cache ครับ ในเมื่อโหลดกันนัก True ก็เลยเอา Cache ที่ออกแบบมาสำหรับ P2P โดยเฉพาะติดตั้งไว้ที่ True เองซะเลย ทาง True อ้างว่าช่วยประหยัดแบนวิธได้มากถึง 60%

    ISP เจ้าอื่นคงต้องรีบซื้อมาติดบ้างแล้ว True ใช้ UltraBand 2000 ของ PeerApp ถ้าสนใจสั่งซื้อด่วน ผมว่าบริษัททั้งหลายก็น่าจะติด พนักงานจะได้อยากไปทำงานด้วย

    ที่มา: Slyck และ eMediaWire

    ที่มาข่าว : http://www.blognone.com/node/2326

  • #2
    รบกวนช่วยอธิบายหลักการทำงานของ P2P Cached ที่ทรูมันติดตั้งและจัดเก็บ แจกจ่ายข้อมูลให้ client หน่อยสิครับ

    บ่องตง! มองในแง่ธุรกิจและการจัดการทรัพยากรระบบแล้ว ก็ยังไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่ทรูมันจะต้องไปยุ่งยากติดตั้งระบบที่ต้องทุ่มใช้งบประมาณและบุคคลากรเพื่อเอาใจชาวบิท(ส่วนน้อย ถ้าเทียบกับใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป)เลยสักนิด เพราะทุกระบบมันก็เปิด bandwidth และจำกัดให้ใช้งานโดยการแบ่งตามการใช้งานแต่ละ node อยู่แล้ว ทรูมันจะต้องไปยุ่งยากจัดสรรส่วนนี้ทำไม

    แล้วความเร็วในการ d/u มันก็ขึ้นอยู่กับ peer(s) ที่จับกลุ่มกันใน torrent นั้นๆ อยู่แล้ว seed น้อยเน็ตบ้าน มันก็ปล่อยช้าตามธรรมชาติ ยังไงก็ไม่สามารถสูบได้เต็มท่อของทรูอยู่แล้ว, seed น้อยแต่ตั้งอยู่บน colo มันก็เร็วตามระยะทางเชื่อมกับ isp อยู่แล้ว มันสัมพันธ์กันโดยมีนัยยะสำคัญอยู่แล้ว ไม่รู้ว่าทรูจะต้องไปทุ่มงบประมาณในส่วนนี้ทำไมอีก และที่ไม่เมคเซ้นส์เอาซะเลยคือ torrent บนโลกใบนี้มีเป็นล้านๆ client ในแต่ละ node(ถ้ามี)ที่ d/u บิทกัน มันก็แตกต่างกันและจำนวนไม่เท่ากันแล้ว ยังไม่พอยังมีแต่ละ torrent ก็มี peers เชื่อมกันอีกเป็นหลักสิบหลักร้อย ตามทฤษฎีอาจ cached ได้ แต่ในทางปฏิบัติ จะเอาพื้นที่ที่ไหนมาจัดเก็บ cached หลักหลายล้าน GB กันล่ะครับ นายจ๋า

    ถ้าผมเป็นทรู ผมเอาเงินไว้จ่ายเบี้ยโบนัสให้พนักงานมาดูแล node ให้เสถียรดีกว่ามาทำ cached บิททอเร้นท์ดีกว่า เสียเวลาเปล่าและไม่เมคเซ้นส์โดยสิ้นเชิง เพียงเพื่อเอาใจคนกลุ่มเล็ก(ที่ทำผิดกฏหมาย) ตัว isp ก็ยังสุ่มเสี่ยงทำผิดกฏหมายสากลด้วยซ้ำไป

    เพิ่มเติม P2P Caching ทำกันทุกเจ้าแหละครับ เขาทำกับ popular web ครับ เป็น http cached เช่น Youtube Facebook หรือตระกูล Files Sharing ทั้งหลาย อย่าง Rapidshare Megaupload และ 4Shared เป็นต้นครับ

    ปล. ความเห็นส่วนตัวนะครับ เขียนไปตามความเข้าใจแบบบ้านๆ รบกวนตอบต่อข้อถามที่ผมถามไปหน่อยนะครับ ผมอยากได้ความรู้เรื่องการทำ P2P Cached ขอบคุณครับ

    ปล.2 ไปดูข้อมูลจาก link ที่ให้มาแล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรเลยที่เป็นข้อมูลในสาระสำคัญ

    ปล.3 เจตนาบทความเหมือนเหวี่ยงแหการทำ P2P Caching ของทรู เป็นการเหมารวมพวก bit torrent เข้าไปด้วย ซึ่งไม่ใช่และไม่เกี่ยวข้องกับ bit torrent เลยสักนิด
    Last edited by kritz; 23 May 2013, 17:32:46.

    Comment


    • #3
      Cache สามารถทำได้หลายประเภท P2P Cached ก็เป็น1ในนั้น

      เพียร์ทูเพียร์ (อังกฤษ: peer-to-peer) หมายถึงสถาปัตยกรรมเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์แบบกระจาย ที่แบ่งส่วนภาระงานหรือปริมาณงานระหว่างเพียร์ (peer) เพียร์คือผู้เข้าร่วมในงานดังกล่าว แต่ละเพียร์จะมีศักดิ์และอำนาจเท่ากัน เพียร์ต่าง ๆ จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพียร์ต่าง ๆ จะแบ่งส่วนหนึ่งจากทรัพยากรของตน เช่น พลังประมวลผล พื้นที่ดิสก์ หรือช่องสัญญาณเครือข่าย ให้กับผู้เข้าร่วมในเครือข่าย โดยไม่จำเป็นต้องมีการจัดการจากส่วนกลาง เพียร์เป็นทั้งผู้จัดหาและผู้บริโภคทรัพยกร ต่างกับโมเดลแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดหา (ส่ง) และไคลเอนต์จะเป็นผู้บริโภค (รับ) เท่านั้น อีกนัยหนึ่ง เรียก Peer-to-peer (P2P) computing หรือ networking เป็นแอปพลิเคชัน หรือ ซอฟต์แวร์ที่ปฏิบัติงานในรูปแบบสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบกระจาย (distributed application architecture) ที่สามารถแบ่งหน้าในการคำนวณ หรือ ประมวลผลงานหนึ่งๆ ออกเป็นส่วนๆในแต่ละเพียร์ หรือ โหนด ที่ทำงานร่วมกันภายในเครือข่าย แต่ละเพียร์ หรือ โหนด ภายในเครือข่ายเดียวกัน จะมีความเท่าเทียมกันในเสมือนหนึ่งในสมาชิกใน แอปพลิเคชันนั้นๆ คือ อาจจะทำหน้าที่เป็น ผู้ให้ ผู้จัดหา(Server) และ ขณะเดียวกัน เพียรนั้นๆอาจทำหน้าที่เป็น ผู้ร้องขอ (Client)ได้เช่นกัน ทุกๆเพียร สามารถแบ่งส่วนทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น กำลังของการประมวลผลข้อมูล พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล หรือ network bandwidth โดยจัดสรรพื้นที่ และ กำลังการประมวลผล หรือแม้แต่ แชร์แบนด์วิธ ของโหนดตนเองให้กับสมาชิกอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน โดยไม่ต้องถูกควบคุมด้วย เซิฟเวอร์ศูนย์กลาง หรือ stable host เพียร์ ภายในเครือข่ายหนึ่งๆ จะเป็นได้ทั้ง suppliers ผู้จัดหาทรัพยากร และ consumers ผู้ร้องขอทรัพยากร ซึ่งพฤติกรรมของการทำงานของแต่ละเพียร จะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจาก ระบบ client server ที่จะควบคุมการปฏิบัติงาน ด้วยระบบศูนย์กลาง เมื่อพูดถึง p2p application structure แล้ว จะกล่าวได้ถึง ระบบ file sharing จะต้องนึกถึง Napster ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแนวคิดในการสร้างเครือข่ายเพียรทูเพียรให้เกิดโครงสร้าง และ ปรัชญาการทำงาน ของระบบเพียรทูเพียร ที่กล่าวถึง เพียรทูเพียร ก็คล้ายกับการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างมนุษย์ในสังคม ระบบเพียรทูเพียร ไม่ได้ถูกมองเห็นได้เฉพาะในแง่มุม ของเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ ระบบนี้ยังครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อสัมพันธ์ หรือ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนในสังคมอย่างเป็นพลวัตรอีกประการหนึ่งด้วย


      "ระบบโหนดแบบเพียร์ทูเพียร์ ซึ่งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง"

      บิตทอร์เรนต์ (อังกฤษ: BitTorrent) เป็นโพรโทคอลรูปแบบ peer-to-peer ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยตรง ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีต้นกำเนิดมาจากความคิดของนายแบรม โคเฮน (Bram Cohen) ที่ต้องการให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งเขาเริ่มพัฒนามันขึ้นมาตั้งแต่เดือน เมษายน ค.ศ. 2001

      หลักการทำงานของโปรแกรมบิตทอร์เรนต์
      ในภาพนี้, แถบสีภายใต้เครื่องลูกข่ายทั้งหมดแสดงถึงชิ้นส่วนของไฟล์ หลังจากชิ้นส่วนของไฟล์ได้ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วไปยังอีกเครื่องแล้ว ชิ้นส่วนไฟล์นั้นก็จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุกเครื่อง ดังนั้นผู้ส่งไฟล์ต้นฉบับมีหน้าที่เพียงส่งสำเนาของไฟล์เพียงฉบับเดียวเพื่อให้เครื่องลูกข่ายได้รับสำเนาของไฟล์ทั้งหมด
      เครือข่ายของบิตทอร์เรนต์นั้นมีลักษณะโยงใยถึงกันหมด มีแทรคเกอร์ (tracker) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูลและสถิติต่างๆ ของผู้ร่วมใช้งาน, เสมือนประธานผู้ควบคุมการประชุม อย่างไรก็ตาม โปรแกรมบิททอร์เรนท์บางแบบ ไม่จำเป็นต้องมีแทรคเกอร์

      เครือข่ายของการใช้โปรแกรมบิตทอร์เรนต์นั้นเป็นลักษณะโยงใยถึงกันหมด ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งไฟล์ถึงกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทุกเครื่องจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้

      เมื่อไฟล์เริ่มต้นเผยแพร่มาจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เครื่องอื่นๆ ที่ต้องการไฟล์ (หรือผู้ที่รอโหลดอยู่นั่นเอง) ก็จะค่อยๆ ได้รับชิ้นส่วนไฟล์ไปทีละชิ้นทีละชิ้นแบบสุ่ม เหมือนภาพต่อจิ๊กซอว์

      ทันทีที่ได้รับชิ้นส่วนไฟล์มา คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถส่งต่อชิ้นส่วนไฟล์ที่ได้รับมาแล้วให้เครื่องอื่นที่ยังไม่มีได้ทันที ไม่ต้องรอให้ตัวเองได้ชิ้นส่วนไฟล์จนครบ 100% เสียก่อน เป็นลักษณะของการเติมเต็มให้กัน ชิ้นส่วนไฟล์ตรงใหนที่ขาดไป สุดท้ายแล้วก็จะได้รับมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายในที่สุด ด้วยสาเหตุนี้เอง โปรแกรมบิตทอร์เรนต์จึงสามารถทำให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก


      "ในภาพนี้, แถบสีภายใต้เครื่องลูกข่ายทั้งหมดแสดงถึงชิ้นส่วนของไฟล์ หลังจากชิ้นส่วนของไฟล์ได้ถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแล้วไปยังอีกเครื่องแล้ว ชิ้นส่วนไฟล์นั้นก็จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนครบทุกเครื่อง ดังนั้นผู้ส่งไฟล์ต้นฉบับมีหน้าที่เพียงส่งสำเนาของไฟล์เพียงฉบับเดียวเพื่อให้เครื่องลูกข่ายได้รับสำเนาของไฟล์ทั้งหมด"







      -ผมมองว่าการลงทุนทำระบบ P2P Cache นั้นถูกกว่าการให้โบนัสพนักงานมาดูแล node ทั้ง 77 จังหวัด 877 อำเภอ 7255 ตำบล 72944 หมู่บ้าน เพราะระบบลงทุนแค่ครั้งเดียวที่ส่วนกลางแต่ใช้ได้นานจนกว่าจะมีมาตรฐานใหม่ ส่วนการให้โบนัสต้องให้ทุกๆเดือนnodeก็มีมากมายพนักงานก็ต้องมากพอที่จะดูแลให้ทั่วถึง

      -P2P Cache เกิดขึ้นแล้วในทางปฏิบัติแล้ว ทดสอบโดยการลองเปิดฟังก์ชัน DHT , PEX , LPD , uTP ง่ายๆคือเปิดให้หมด แล้วตอนโหลดลองสังเกตดูว่ามี IP ที่เชื่อมต่อด้วย PORT 65535 โดยใช้ BitComet 1.0 นั้นละคือ P2P Cache ซะส่วนใหญ่ ถ้าปิดฟังก์ชันที่บอกจะไม่เจอ





      ถ้าให้เทียบ P2P Cache ก็เสมือน Colo แบบเถื่อนที่เลือกseedให้เฉพาะค่ายตัวเอง และมีscript AUTO BOT เลือกเฉพาะไฟล์ที่โหลดกันมากๆ และเมื่อtorrentนั้นไม่มีคนโหลดครบ ... วันก็จะลบอัตโนมัติ
      Last edited by mafiaking; 26 May 2013, 02:58:26.

      Comment


      • #4
        555+

        Comment


        • #5
          เปิด Transparent Proxy ซะงั้น ระวัง Tracker ไทย ถีบนะเอ้อ... ฮา
          มาตรฐาน DHT ใช้กันทั่วโลก แต่ Tracker ไทย ยังไม่ยอมรับกัน เพราะทำให้ sv ทำงานหนักและง่ายต่อการถูกติดตามตัวมิใช่ดอกรึหรือผมเข้าใจผิดไปเอง

          Comment


          • #6
            DHT = Distributed Hash Table
            PEX = Peer exchange
            LPD = Local Peer Discovery
            ?TP = Micro Transport Protocol

            DHT , PEX , LPD เป็นการหาPeerเพิ่มจากภายนอกโดยวิธีที่แตกต่างกันไป จากปกติจะหาแค่ tracker ที่ระบุใน torrent เท่านั้น ซึ่งค่าพวกนี้จะถูกเปิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว







            แต่ๆ ถ้าไฟล์torrentนั้นผู้สร้างระบุบให้เป็นPrivateตั้งแต่แรก DHT , PEX , LPD ก็จะไม่ทำงาน และ ไม่สามารถบังคับให้เปิดได้



            ดังนั้นเว็บบิทไทยจึงกำหนดให้คนสร้างไฟล์ .torrent ต้องตั้งค่าให้เป็นPrivate และให้ คนโหลดตั้งค่าโปรแกรมให้ปิด DHT , PEX , LPD เพื่อป้องกันPeerจากภายนอก แต่ผมเดาว่ามากกว่า50%ทั้งคนสร้าง.torrentและคนโหลดไม่ได้ทำตามเพราะค่า default กำหนดให้เปิดมาตั้งแต่แรก เนื่องจากเว็บบิททั่วโลกส่วนมากเป็นเว็บเปิด

            ถามว่า DHT , PEX , LPD จะทำให้ SV ทำงานหนักขึ้นหรือไม่?
            -ผมว่าการที่เครื่องคนโหลดไปต่อ Peer เองโดยไม่ผ่านtrackerที่ระบุในtorrent น่าจะได้ผลตรงกันข้ามเลยนะคือ SV เว็บบิททำงานน้อยลง/เท่าเดิม ส่วนเครื่องคนโหลดจะทำงานหนักขึ้น

            แล้ว DHT , PEX , LPD จะทำให้ง่ายต่อการถูกติดตามหรือไม่?
            -ผมว่าการที่ไม่ติดต่อPeerเองโดยตรงไม่ผ่านนายหน้า(tracker) น่าจะติดตามได้ยากขึ้น/เท่าเดิมนะ เพราะถ้าเว็บบิตโดนยกSVไปตรวจสอบ tracker มันจะโชว์ว่า IP ไหนติดต่อกับ IP ไหน แต่ถ้าติดต่อเองมันไม่มีส่วนกลางให้ตรวจสอบไง
            ยกเว้นกรณีที่คนตรวจสอบเป็น Peer ซะเอง

            ถ้าให้เทียบง่ายๆตามความคิดผมนะ(ผิดถูกก็ขออภัย555)
            เช่น Aซื้อของจากB โดยผ่านทาง เว็บ ebay ก็จะเป็นแบบปกติที่ติดต่อผ่าน tracker โดยข้อมูลหลักฐานเวลาการซื้อขายก็จะอยู่ที่ ebay
            กับ Aซื้อของจากB โดยตรง ไม่ผ่านเว็บคุยปากเปล่าอย่างเดียว ก็จะเป็นแบบ DHT , PEX , LPD ไม่มีข้อมูลหลักฐานเวลาการซื้อขายอยู่อื่นนอกจากตัวเอง




            อ๋อแล้วก็ Transparent Proxy คืออะไร? ตั้งค่ายังไงครับ? ทำไม่เป็น 555

            Comment


            • #7
              p2p นี่เป็นงานปวดหัวสำหรับการทำงาน network engineer หรือ network routing design เลย ถ้าไม่ใช่พวก emblem ที่มี system manage ดีๆก็ต้องออกแบบ algorithms ขึ้นมาจัดการลำดับการ queue ของข้อมูลแต่อ่านที่ท่าน จขกท โพสมาผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันครับว่ามันสามารถทำการ cahce ได้ด้วยแฮะ เดียวต้องลองศึกษาเพิ่มติมดูครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับผม

              ปล . ยิ่งเจอแบบกด force encrypt load นี่ ทะลุทะลวงจริงๆนะ ยังไม่มีระบบไหนเอาอยู่เลย *-*

              Comment


              • #8
                ข้อมูลไม่หลวมไปหรอกรึท่าน "มากกว่า50%ทั้งคนสร้าง.torrentและคนโหลดไม่ได้ทำตามเพราะค่า default กำหนดให้เปิดมาตั้งแต่แรก" เข้าใจหรอกว่า DHT มันเปิดโดย default จาก client program แต่การอัพโหลด bittorrent ในไทย บาง Tracker เขาทำเป็นข้อบังคับให้ปิด(ถ้าถูกตรวจพบ ถูกถีบกันทั้งยวง) ซึ่งค่า d/u จาก torrent ที่ปิดระบบ DHT นี้นั้นก็ยังสามารถทำ d/u ได้ในระดับเดียวและเท่ากันกับรูปแบบการเปิด DHT

                ซึ่งผมตีความเอาเองว่า แบบปิด DHT มันไม่มี ไอ้ที่คุณเรียกว่า p2p caching จากทรูแน่ๆ เพราะมันไม่แสดงการโหลดจากไอพีของทรูที่คุณนำมาแสดงอย่างแน่นอน หรือมันมี? และแอบทำลับๆ ล่อๆ อยู่ครับ?

                และการไม่ปรากฏไอพี p2p caching จากทรูที่คุณนำมาทำเป็นข้อมูลเปิดเผย แต่ค่า d/u ก็ได้เท่าเดิม ได้ครบ(ตามระดับที่ควรได้ 14Mbps/1.4Mbps (ค่า u จำไม่แม่น ถ้าผิดขออภัย))ตามที่คำนวณแบนด์วิธของแพ๊คเกจที่ผมเป็นสมาชิกอยู่ มันหมายความว่าอย่างไรครับ? หรือ ทรูมันทำ p2p caching ในกรณีแบบนี้ได้อีก

                Comment


                • #9
                  -ครับ ตัวเลขอาจผิดไปเพราะหลังๆมาเจอไฟล์ที่เปิดDHTซะเยอะ --" เว็บก็ไม่ได้แบนคนสร้างด้วย

                  -ถ้าปิด DHT ก็จะไม่เจอครับ แต่คุ้นๆเหมือนว่ามีการทำแบบถูกต้องนะคือประมาณว่าเป็นสมาชิกเลย ประมาณนั้น

                  -p2p caching จุดประสงค์หลักน่าจะทำเพื่อลดแบนวิทระหว่างISP[เน้นโหลดกันเองในISPเดียวกัน ลดการโหลดข้ามISPที่มีค่าเชื่อมต่อที่สูงกว่า] และ เพิ่มสภาพคล่องครับ สรุป มี/ไม่มี ก็เร็วพอๆกันเพราะISPแบนวิทเหลือเยอะ เงินก็เยอะ และบีบความเร็วต่างประเทศโดยอ้างว่าเป็นเน็ตบ้าน ไม่ใช่องค์กร หรือ บอก p2p กันจนแบนวิทหมดบ้างละ ซึ่งจริงๆมันเหลือเยอะโดยแบ่งให้องค์กรซะมากกว่า -0- อะไรดังๆก็แคชเอา หลอกไปเรื่อยๆ บลาๆ

                  ผมบ่นไปงั้นๆละ 555+

                  Comment


                  • #10
                    จากที่ทำมา Oversi เสถียรกว่า PeerApp เยอะเลย

                    ปล. ตอนนี้ Allot ตีจาก PeerApp หันมาคบ Oversi แทนแล้ว

                    Comment

                    Working...
                    X