FCAPS ถือเป็น Framework อย่างหนึ่งสำหรับการบริหารจัดการเครือข่าย โดย FCAPS เป็นชื่อย่อที่มาจากการรวมลักษณะของการบริหารจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องคือ Fault, Configuration, Accounting, Performance และ Security ในบางองค์กรจะใช้ FCAPS เพื่อเชื่อมโยงกับ ISO Model เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเครือข่าย
ในองค์กรที่มีการนำ IT มาใช้ และใช้ IT เป็นพื้นฐานสำคัญต่างก็มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ IT ถูกการจัดการและแก้ไขอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้องค์กรมี Availability และ Performance ที่ดีตามมา
ฟังดูแล้ว FCAPS ถือเป็นพระเอกที่มาช่วยบริหารจัดการเครือข่ายได้ดี แล้วมันดีจริงอย่างไร? ทำให้องค์กรมี Availability และ Performance ดีขึ้นจริงหรือไม่? คงต้องดูกันว่าความหมายของแต่ละตัว F-C-A-P-S และ Keyword ที่จะใช้ไขความลับการบริหารจัดการเครือข่าย สามารถทำได้อย่างไร
F -> Fault Management
เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นกับระบบเครือข่าย การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คือสิ่งที่ควรทำ แต่การจัดการปัญหารวมถึงการแก้ไขปัญหา และทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ไม่ปรากฏเป็นปัญหาในอนาคต คือสิ่งที่ควรทำมากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ย่อมไม่ดีกับ Availability อย่างแน่นอน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการ Fault ได้ดีนั้น ควรมีการแยกแยะปัญหา หรือจัดกลุ่มของปัญหาที่ชัดเจน ก่อนการแก้ไขปัญหา และเมื่อแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ควรมีการบันทึกปัญหาต่าง ๆ เอาไว้ รวมถึงเวลาตั้งแต่เกิดปัญหาจนแก้ไขสิ้นสุด หัวใจของ Fault Management คือ
Detect the fault การเฝ้าระวังและตรวจสอบปัญหา
มีองค์กรไม่น้อยเลยที่มองข้ามปัญหาในเรื่องของการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผลักภาระให้กับ Provider ที่เป็นเจ้าของวงจร ที่ให้องค์กรเหล่านั้น เช่าใช้งาน เมื่อเกิดปัญหาใช้งานไม่ได้ก็ทำการแจ้ง Provider ทันที หรืออาจจะแค่ตรวจสอบก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากจุดใดแล้วแจ้ง Provider คำถามคือ? จะดีกว่าหรือไม่? หากมีเครื่องมือช่วย Network Admin. ระบุได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นที่ใด? เกิดปัญหาอะไรขึ้น? อย่างน้อยก็ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบลงได้บ้าง ก่อนการแจ้งปัญหาให้กับ Provider ปกติแล้วอุปกรณ์ Network ในปัจจุบันทุกตัวล้วนมี SNMP ทั้งที่เป็น Open Protocol และ Proprietary เป็น Protocol ที่บ่งบอกสถานะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เราสามารถใช้ประโยชน์จาก SNMP ได้ด้วยการสร้างเครื่องมือที่แจ้งสถานะ หรือหากไม่มีเวลาและบุคคลากรที่สร้างเครื่องมือเหล่านี้ ก็สามารถเลือกใช้ Software สำเร็จรูปทั้งที่มีลิขสิทธิ์ตามท้องตลาด และ Freeware หรือ Opensource มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
Problem Identification การระบุปัญหา
นอกเหนือจากการเฝ้าระวังแล้ว เมื่อพบปัญหาขึ้นการระบุปัญหาว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เป็นสิ่งที่ช่วยให้ Network Admin. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด ลดระดับประเด็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องลงได้ หรือพูดเป็นคำไทย ๆ ได้ ว่า ไม่ต้องเป็นตาบอดคลำทาง นั่นเอง ซึ่งการระบุปัญหาต่าง ๆ จะรวมถึงการจัดลำดับชั้นของปัญหาด้วย ซึ่งจะเป็นการจัดการที่ง่ายขึ้นเพื่อช่วยในเรื่องของ Fault Logging ในโอกาสถัดไป
Fault logging การบันทึกปัญหา
สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการเครือข่าย และเป็นสิ่งที่ Network Admin ไม่อยากพบเจอมากที่สุดคือ ปัญหาเดิม ๆ กลับมารบกวนการทำงาน ทำให้ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาซ้ำ ๆ เดิม ๆ และไม่รู้จักจบสิ้นสักที การที่มีการบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมช่วยในการวางแผนได้ว่า ปัญหาเหล่านั้น เกิดจากต้นเหตุของปัญหาอะไร? แก้ไขอะไรไปแล้วบ้าง? ได้ผลลัพท์จากการแก้ไขอะไรบ้าง? เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเราสามารถแก้ปัญหาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่สามารถรับประกันได้ว่าปัญหาที่เกิดและแก้ไขไปแล้วจะไม่กลับมาเป็นปัญหาอีก การบันทึกจะช่วยในการเก็บสถิติ และช่วยวางแผนป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้ และการบันทึกปัญหาที่ดี ควรเริ่มบันทึกตั้งแต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผ่านการแยกแยะปัญหาว่าเป็นประเภทใด บันทึกการแก้ไขปัญหาทุก ๆ ขั้นตอน แม้แต่การย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นเมื่อแก้ไขปัญหาไม่ผ่าน บันทึกวิธีการหากแก้ไขปัญหาได้ รวมถึงเวลาตั้งแต่เกิดปัญหา เวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจนเสร็จสิ้น การบันทึกปัญหาจะเป็นประโยชน์มากขึ้นหากมีการใช้เครื่องมือช่วยในการบันทึกปัญหาและช่วยติดตามปัญหา
C -> Configuration Management
ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ย่อมมี IT Infrastructure ที่มีขนาดใหญ่ตามองค์กร นั่นหมายถึง Network Admin. ย่อมมีจำนวนมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอในการดูแลทั้งในส่วนของการควบคุมทรัพย์สิน จดจำสถานที่ติดตั้ง รวมถึงหากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปกับอุปกรณ์เหล่านั้นบ้าง (อีกหลาย ๆ องค์กร Network Admin. ก็ไม่ค่อยจะสมดุลย์กับทรัพย์สินเท่าไหร่) Network Admin. จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินอย่างไร ? มีการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือไม่? ประวัติความเสียหายของอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร และมีสถิติอย่างไรบ้าง? ที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนค่า Configuration อะไรไปบ้าง? เหล่านี้คือคำถามที่มีประโยชน์ในเรื่องของการบริหารจัดการ เพราะส่งผลในการตัดสินใจของผู้บริหารได้ เช่น ตัดสินใจว่าอุปกรณ์ยังคุ้มค่ากับการ Maintenance หรือไม่ โดยเอาสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นตัวตั้ง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วย Network Admin. วางแผนเกี่ยวกับอุปกรณ์ได้อีกด้วย เช่น ใช้ Current Configuration มาช่วยดูว่าการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือลดลง ส่งผลกระทบอะไรบ้าง? และต้องแก้ไขอะไรบ้าง? หัวใจของ Configuration Management คือ
Inventory Hardware and Software การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ทั้ง Hardware และ Software)
มีบ้างไหมที่ Network Admin. เกิดความสับสนว่า เอ..อุปกรณ์ตัวนี้มีมาเมื่อไหร่ แล้วใครดูแล คำถามนี้และคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันจะไม่เกิดขึ้นเลย หากมีการจัดการ Hardware และ Software ที่มีมากมายในองค์กร ทั้งนี้ควรเริ่มจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินในปัจจุบันเสียก่อน แล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีการบันทึกใหม่ทุกครั้ง
Physical Security Location สถานที่ติดตั้งที่มีความปลอดภัย
เป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันหากอุปกรณ์ที่เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน และยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อุปกรณ์อยู่ในสถานที่ที่มีความปลอดภัยต่ำ Network Admin. ควรให้ความใส่ใจกับสถานที่ติดตั้ง ตรงตาม Requirement ของอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมขั้นต่ำที่อุปกรณ์ต้องการ ทั้งนี้อาจจะต้องมองถึงเรื่องความปลอดภัยในการเข้าถึงอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วย (Access) ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่อยูในส่วนของ S -> Security ด้วย
Change Management การควบคุมการเปลี่ยนแปลง
บริการต่าง ๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก หากหยุดให้บริการก็ส่งผลกระทบวงกว้าง เช่น ระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ที่ต้องให้บริการหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะกระทรวงต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้แต่สำนักงานเขตต่าง ๆ เป็นต้น และคงหนีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงต่ออุปกรณ์ไม่พ้น เนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอายุขัยของมัน หรือหากต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้อง Upgrade อุปกรณ์ หรือเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ ก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือมีความจำเป็นต้องหยุด Services ชั่วคราว Downtimes เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงจะดีไม่น้อยหาก Downtimes ที่เกิดขึ้นกินระยะเวลาสั้นมาก คำถามจึงเกิดขึ้นว่าทำอย่างไรให้ Downtimes น้อยที่สุด คำตอบคือ มีการวางแผนที่ดี และการวางแผนที่ดีคือมีข้อมูลที่ช่วยในการวางแผน การทำ Change Management คือการนำข้อมูลที่มีทั้งหมดช่วยในการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดี ในส่วนของเนื้อหาลึก ๆ อาจจะทำเป็นหัวข้อแยกออกมาอีกในคราวถัดไป
สนใจบทความอื่นเพิ่มเติมเข้าชมได้ที่ http://km.gits.net.th/node/32
ในองค์กรที่มีการนำ IT มาใช้ และใช้ IT เป็นพื้นฐานสำคัญต่างก็มุ่งเน้นเรื่องการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบ IT ถูกการจัดการและแก้ไขอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้องค์กรมี Availability และ Performance ที่ดีตามมา
ฟังดูแล้ว FCAPS ถือเป็นพระเอกที่มาช่วยบริหารจัดการเครือข่ายได้ดี แล้วมันดีจริงอย่างไร? ทำให้องค์กรมี Availability และ Performance ดีขึ้นจริงหรือไม่? คงต้องดูกันว่าความหมายของแต่ละตัว F-C-A-P-S และ Keyword ที่จะใช้ไขความลับการบริหารจัดการเครือข่าย สามารถทำได้อย่างไร
F -> Fault Management
เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นกับระบบเครือข่าย การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ คือสิ่งที่ควรทำ แต่การจัดการปัญหารวมถึงการแก้ไขปัญหา และทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้ ไม่ปรากฏเป็นปัญหาในอนาคต คือสิ่งที่ควรทำมากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น หากเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ย่อมไม่ดีกับ Availability อย่างแน่นอน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การจัดการ Fault ได้ดีนั้น ควรมีการแยกแยะปัญหา หรือจัดกลุ่มของปัญหาที่ชัดเจน ก่อนการแก้ไขปัญหา และเมื่อแก้ไขปัญหาเรียบร้อยแล้ว ควรมีการบันทึกปัญหาต่าง ๆ เอาไว้ รวมถึงเวลาตั้งแต่เกิดปัญหาจนแก้ไขสิ้นสุด หัวใจของ Fault Management คือ
Detect the fault การเฝ้าระวังและตรวจสอบปัญหา
มีองค์กรไม่น้อยเลยที่มองข้ามปัญหาในเรื่องของการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผลักภาระให้กับ Provider ที่เป็นเจ้าของวงจร ที่ให้องค์กรเหล่านั้น เช่าใช้งาน เมื่อเกิดปัญหาใช้งานไม่ได้ก็ทำการแจ้ง Provider ทันที หรืออาจจะแค่ตรวจสอบก่อนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากจุดใดแล้วแจ้ง Provider คำถามคือ? จะดีกว่าหรือไม่? หากมีเครื่องมือช่วย Network Admin. ระบุได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นที่ใด? เกิดปัญหาอะไรขึ้น? อย่างน้อยก็ช่วยลดเวลาในการตรวจสอบลงได้บ้าง ก่อนการแจ้งปัญหาให้กับ Provider ปกติแล้วอุปกรณ์ Network ในปัจจุบันทุกตัวล้วนมี SNMP ทั้งที่เป็น Open Protocol และ Proprietary เป็น Protocol ที่บ่งบอกสถานะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เราสามารถใช้ประโยชน์จาก SNMP ได้ด้วยการสร้างเครื่องมือที่แจ้งสถานะ หรือหากไม่มีเวลาและบุคคลากรที่สร้างเครื่องมือเหล่านี้ ก็สามารถเลือกใช้ Software สำเร็จรูปทั้งที่มีลิขสิทธิ์ตามท้องตลาด และ Freeware หรือ Opensource มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
Problem Identification การระบุปัญหา
นอกเหนือจากการเฝ้าระวังแล้ว เมื่อพบปัญหาขึ้นการระบุปัญหาว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เป็นสิ่งที่ช่วยให้ Network Admin. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด ลดระดับประเด็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้องลงได้ หรือพูดเป็นคำไทย ๆ ได้ ว่า ไม่ต้องเป็นตาบอดคลำทาง นั่นเอง ซึ่งการระบุปัญหาต่าง ๆ จะรวมถึงการจัดลำดับชั้นของปัญหาด้วย ซึ่งจะเป็นการจัดการที่ง่ายขึ้นเพื่อช่วยในเรื่องของ Fault Logging ในโอกาสถัดไป
Fault logging การบันทึกปัญหา
สิ่งสำคัญในการบริหารจัดการเครือข่าย และเป็นสิ่งที่ Network Admin ไม่อยากพบเจอมากที่สุดคือ ปัญหาเดิม ๆ กลับมารบกวนการทำงาน ทำให้ต้องกลับมาแก้ไขปัญหาซ้ำ ๆ เดิม ๆ และไม่รู้จักจบสิ้นสักที การที่มีการบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมช่วยในการวางแผนได้ว่า ปัญหาเหล่านั้น เกิดจากต้นเหตุของปัญหาอะไร? แก้ไขอะไรไปแล้วบ้าง? ได้ผลลัพท์จากการแก้ไขอะไรบ้าง? เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเราสามารถแก้ปัญหาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่สามารถรับประกันได้ว่าปัญหาที่เกิดและแก้ไขไปแล้วจะไม่กลับมาเป็นปัญหาอีก การบันทึกจะช่วยในการเก็บสถิติ และช่วยวางแผนป้องกันปัญหาต่าง ๆ ได้ และการบันทึกปัญหาที่ดี ควรเริ่มบันทึกตั้งแต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผ่านการแยกแยะปัญหาว่าเป็นประเภทใด บันทึกการแก้ไขปัญหาทุก ๆ ขั้นตอน แม้แต่การย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นเมื่อแก้ไขปัญหาไม่ผ่าน บันทึกวิธีการหากแก้ไขปัญหาได้ รวมถึงเวลาตั้งแต่เกิดปัญหา เวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจนเสร็จสิ้น การบันทึกปัญหาจะเป็นประโยชน์มากขึ้นหากมีการใช้เครื่องมือช่วยในการบันทึกปัญหาและช่วยติดตามปัญหา
C -> Configuration Management
ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ ย่อมมี IT Infrastructure ที่มีขนาดใหญ่ตามองค์กร นั่นหมายถึง Network Admin. ย่อมมีจำนวนมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอในการดูแลทั้งในส่วนของการควบคุมทรัพย์สิน จดจำสถานที่ติดตั้ง รวมถึงหากมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปกับอุปกรณ์เหล่านั้นบ้าง (อีกหลาย ๆ องค์กร Network Admin. ก็ไม่ค่อยจะสมดุลย์กับทรัพย์สินเท่าไหร่) Network Admin. จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินอย่างไร ? มีการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือไม่? ประวัติความเสียหายของอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นคืออะไร และมีสถิติอย่างไรบ้าง? ที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนค่า Configuration อะไรไปบ้าง? เหล่านี้คือคำถามที่มีประโยชน์ในเรื่องของการบริหารจัดการ เพราะส่งผลในการตัดสินใจของผู้บริหารได้ เช่น ตัดสินใจว่าอุปกรณ์ยังคุ้มค่ากับการ Maintenance หรือไม่ โดยเอาสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นตัวตั้ง เป็นต้น อีกทั้งยังช่วย Network Admin. วางแผนเกี่ยวกับอุปกรณ์ได้อีกด้วย เช่น ใช้ Current Configuration มาช่วยดูว่าการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพิ่มเติมหรือลดลง ส่งผลกระทบอะไรบ้าง? และต้องแก้ไขอะไรบ้าง? หัวใจของ Configuration Management คือ
Inventory Hardware and Software การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน (ทั้ง Hardware และ Software)
มีบ้างไหมที่ Network Admin. เกิดความสับสนว่า เอ..อุปกรณ์ตัวนี้มีมาเมื่อไหร่ แล้วใครดูแล คำถามนี้และคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันจะไม่เกิดขึ้นเลย หากมีการจัดการ Hardware และ Software ที่มีมากมายในองค์กร ทั้งนี้ควรเริ่มจากการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินในปัจจุบันเสียก่อน แล้วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จึงมีการบันทึกใหม่ทุกครั้ง
Physical Security Location สถานที่ติดตั้งที่มีความปลอดภัย
เป็นเรื่องที่ไม่คาดฝันหากอุปกรณ์ที่เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน และยิ่งแย่ไปกว่านั้นคือสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อุปกรณ์อยู่ในสถานที่ที่มีความปลอดภัยต่ำ Network Admin. ควรให้ความใส่ใจกับสถานที่ติดตั้ง ตรงตาม Requirement ของอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมขั้นต่ำที่อุปกรณ์ต้องการ ทั้งนี้อาจจะต้องมองถึงเรื่องความปลอดภัยในการเข้าถึงอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วย (Access) ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่อยูในส่วนของ S -> Security ด้วย
Change Management การควบคุมการเปลี่ยนแปลง
บริการต่าง ๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก หากหยุดให้บริการก็ส่งผลกระทบวงกว้าง เช่น ระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ที่ต้องให้บริการหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะกระทรวงต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแม้แต่สำนักงานเขตต่าง ๆ เป็นต้น และคงหนีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงต่ออุปกรณ์ไม่พ้น เนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มีอายุขัยของมัน หรือหากต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้อง Upgrade อุปกรณ์ หรือเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ ก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือมีความจำเป็นต้องหยุด Services ชั่วคราว Downtimes เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่คงจะดีไม่น้อยหาก Downtimes ที่เกิดขึ้นกินระยะเวลาสั้นมาก คำถามจึงเกิดขึ้นว่าทำอย่างไรให้ Downtimes น้อยที่สุด คำตอบคือ มีการวางแผนที่ดี และการวางแผนที่ดีคือมีข้อมูลที่ช่วยในการวางแผน การทำ Change Management คือการนำข้อมูลที่มีทั้งหมดช่วยในการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดี ในส่วนของเนื้อหาลึก ๆ อาจจะทำเป็นหัวข้อแยกออกมาอีกในคราวถัดไป
สนใจบทความอื่นเพิ่มเติมเข้าชมได้ที่ http://km.gits.net.th/node/32