Announcement

Collapse
No announcement yet.

ลองวัดการบริโภคไฟของ Intel เล่นๆ

Collapse
X
 
  • Filter
  • Time
  • Show
Clear All
new posts

  • เวลาocนี่ทะลุมิติเลยแหละ ในขณะที่intelเพิ่มตามสกิลที่clockมันเพิ่มมานะ

    แปลกดี สงสัยเป็นเหตุเป็นผลของการที่coreเยอะด้วยเลยทวีขึ้นไปโหดมาก

    Comment


    • Originally posted by V-FrIeNd View Post
      ตอนนี้ในบ้านเหลือแต่
      4590S
      G1820
      Z2760
      แล้วครับ
      แถมไม่ได้บวกตังค์เพิ่มเลย

      ตั้งแต่จัดระเบียบการใช้ไฟในบ้าน
      ไล่ตั้งแต่ทำความสะอาดช่องลมตู้เย็นเอง แอร์ ลดสเปคคอม
      เปลี่ยนบัลลาตเปนแบบอิเลคฯหรือใช้หลอด led
      ค่าไฟบ้านลดจาก 6,xxx ช่วงปีที่แล้ว เหลือ 3,xxx
      คอมนี่อาจจะสเกลเล็กๆแต่ก็มีผลนิดหน่อยแหล่ะ อย่างน้อยๆก็ 200-300
      ถ้าดันทุรังใช้เดิมๆไม่แก้ไข ซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าบ้าง นี่เสียค่าโง่ค่าไฟฟรีๆเลย
      บางอย่างไม่ต้องเสียตังค์เพิ่มก็ทำได้
      หรือเสียตังค์เท่ากันแต่เลือกสักหน่อยก็ช่วยได้
      1ปี 36000 ขายของเก่าจัดของใหม่ได้ 2เซต

      Comment


      • Originally posted by jackkfc012 View Post
        ขอเผือกด้วยคน ผมมี2เครื่อง
        1.i5 4570 ลองใช้เพียวๆ1เดือนค่าไฟที่บ้าน 700บาท+โดยประมาณ G3258@4.0 เครื่องเดิม 750บาท+โดยประมาณ
        2.FX 6300 ลองใช้เพียวๆเดิมๆค่าไฟที่บ้าน 800บาท+โดยประมาณ ลองเซ็ตไฟ 750บาท+โดยประมาณ ซีรี่FX8xxx ไม่อยากจะคิด

        บ้านผมไม่มีแอร์ พัดลม5เครื่อง ตู้เย็น1เครื่อง ทีวี3เครื่อง เปิดคอมวันละ12 ชม โดยประมาณ
        จุดน่าสังเกตุ เวลาบูสความเร็ว ซีรี่FX มันกินไฟเว่อมาก
        เห็นด้วยเลย เวลาบูธระบบนี่ มันจะมีช่วงก่อนเข้า logo วินโดว์ที่ไฟพุ่งพรวดอยู่จุดหนึ่ง และหลัง logo วินโดว์จบก็จะพุ่งพรวดอีกจุดหนึ่ง ถ้าผมดูไม่ผิดนะ ทั้งๆที่ 2 ช่วงนี้ถ้าใครเทสแบบเสียบเปิดจอด้วย จริงๆไฟน่าจะลดลงเพราะจอจะทำงานน้อยในช่วงนี้ แต่ก็อย่างที่เห็นว่ามันพรวดจริงๆ เช็คกับ Intel แล้วก็จะมีจุดพุ่งคล้ายๆกัน แต่ก็ไม่ได้พุ่งแรงแบบของ FX นะ (ก็นะ มันเป็นจุดที่เครื่องกำลังพยายามโหลดทุกอย่างเพื่อเริ่มทำงานนี่ มันก็ต้องมีพุ่งกันนิดหน่อยเป็นธรรมดา)

        2 วันก่อนเสียบเครื่องวัดที่ทำงานไว้วันละ 8 ชั่วโมง เก็บข้อมูลได้มา 16 ชั่วโมงละ ว่าจะเอามาเทียบค่าไฟซะหน่อย ยังไม่ว่างทำกราฟ

        EDIT: ขอแก้นิดหน่อย ช่วงที่กระโดดมี2ช่วงคือ ช่วงหลังจากขึ้นโลโก้วินโดว์ (โหลดส่วนประกอบวินโดว์) และช่วงหลังจากเข้าหน้าวินโดว์ (โหลดโปรแกรมพวก start up ทั้งหลาย)
        Last edited by grungust; 10 Mar 2015, 17:17:19. Reason: แก้นิดหน่อย

        Comment


        • ตอนบูทเครื่องก่อนเข้าwindows intelก็กินไฟพุ่งครับ ของผมi7 นี่ไปแตะๆ90 แต่ก็ไม่เท่าfull load คงเพราะมันเปิดclockเต็มที่ไม่ประหยัดไฟเลย และตอนเข้าwin แล้วเข้าใจว่าเพราะโหลดstart up process ทั้งหลาย เลยเร่งclockไปสุดเช่นกัน

          ตรงนี้จำได้ว่าปรับได้ในbios ว่าจะให้ปรับclock สูงหรือต่ำตอนบูท แต่จำชื่อoptionไม่ได้เหมือนกัน

          Comment


          • ^^
            ^^
            ผมก็เข้าใจตามนั้นเหมือนกันครับ แต่แอบสงสัยนิดเดียว คือมันพุ่งโดดๆออกมาเลยช็อตเดียว อย่าง FX6300 ผมกดสวิตช์เปิดเครื่องแล้วมองมิเตอร์ไปด้วย มันจะวิ่งอยู่ที่ 120 - 150 w แต่ตอนโพสต์โลโก้วินโดว์ ขึ้นปุ๊บ มันมีจังหวะกระโดดไป 180w แบบหน้าตาเฉยช็อตเดียว แล้วจะมีช็อตที่ 2 คือ หลังจากวินโดว์ขึ้นหน้าเดสทอปแล้ว (ถ้ามีเพลงก็หลังเพลงดัง) ช็อตนี้กระโดดไป 180w ช็อตเดียวเช่นกัน (ถ้าเมื่อก่อนใช้ HDD Seagate จะได้ยินเสียงดังโหลดโหด ณ เวลาประมาณนี้....Start up process)

            ===============================================

            วันนี้ลองเอาข้อมูลการใช้งาน PC 8 ชั่วโมงมานั่งใส่ตาราง Excel คำนวณค่าเงินบาท 5 ปีออกมา
            โดยผมไม่ได้สนใจจำนวนวัตต์ที่ใช้ไป เพราะเจ้ามิเตอร์มันให้ค่า Cost มาเรียบร้อยแล้ว ที่เหลือก็แค่ควบคุม Hr (ชั่วโมงการใช้งาน) ให้เป็นตัวเลขกลมๆคร่าวซะ แล้วใช้ค่าไฟหน่วยละ 1.5 บาทเป็นเกณฑ์ในการคิดค่าใช้จ่าย

            โดยได้ทำการทดสอบไปแล้ว 1 เครื่อง ได้ผลคร่าวๆเป็นตัวหนังสือดังนี้ (ยังบ่อยากแปะตาราง)

            PC เครื่องที่ 1 (บอกไปเลยละกันว่า i3 ที่ทำงาน เครื่องเดิมที่เคยทดสอบไปก่อนหน้านี้)

            **ทั้งชุดมี PC จอ เม้าส์ คีย์บอร์ด**

            ใช้งาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ค่า Cost อยู่ที่ 0.4 (กลับสูตรคำนวณจะได้ค่าวัตต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50w)
            ใช้งาน 22 วันต่อเดือน ค่า Cost อยู่ที่ 8.8 (เนื่องจากทำงานเฉพาะวันปกติ วันละ 8 ชั่วโมง)
            ใช้งาน 12 เดือนต่อปี ค่า Cost อยู่ที่ 105.6 (นี่ไม่ได้หักวันหยุดเลยนะเนี่ย ทำงานไม่มีวันหยุด)

            ดังนั้นใน 1 ปี จะเสียค่าไฟหน่วยละ 1.5 บาท ประมาณการอยู่ที่ 158.4 บาท ซึ่งก็ต้องเข้าใจก่อนว่ามันเป็นแค่ตัวเลขประเมินเฉยๆ เพราะค่าไฟจริงๆมันคำนวณมากกว่านี้หลายขั้นตอน (มีหลายเรต วันนี้นั่งอ่านซะตาลาย)

            ตัวเลข Cost 0.4 นี่ผมได้ทดลองเสียบมิเตอร์ 2 วันติดกัน (ก็นะ มันจำค่าหลังสุดอยู่ ผมเลยลองเสียบต่อตอน 8 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ใช้งานคอมตามปกติแล้ว 16.00 ตอนเย็นเลิกงานก็ถอดออก ก่อนถอดผมเห็นมันอยู่ที่ 0.81 (16ชั่วโมง11นาที) ก็เลยเฉลี่ยๆเอาว่า เปิดใช้งานทั้งวัน 8 ชั่วโมง cost น่าจะอยู่ที่ 0.4 ไม่น่ามากไปกว่านี้ละสำหรับเจ้าเครื่องนี้ ทำให้นำมาคำนวณค่ากลมๆง่ายหน่อย

            ======================

            PC เครื่องที่ 2 ยังใช้งานไม่ถึงไหน ได้ข้อมูลมาแค่ 5 ชั่วโมง Cost อยู่ที่ 0.7

            **ทั้งชุดมี PC จอ เม้าส์ คีย์บอร์ด UPS เราเตอร์***

            ใช้งาน 5 ชั่วโมงต่อวัน ค่า Cost อยู่ที่ 0.7 (กลับสูตรคำนวณจะได้ค่าวัตต์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 140w)
            ตรงนี้ผมยังไม่สามารถคำนวณต่อเดือนได้ (ข้อมูลยังไม่พอ) เพราะผมตีคร่าวๆว่า วันปกติจะเปิดใช้งานประมาณ 7 ชั่วโมง
            ดูหนังฟังเพลงเล่นเว็บธรรมดา เล่นเกมเล็กน้อย ส่วนเสาร์อาทิตย์จะเปิดใช้งานประมาณ 16 ชั่วโมง ดูหนังฟังเพลงเล่นเว็บเล่นเกมจัดหนัก
            ถ้าได้ข้อมูลย่อยพวกนี้มาจะสามารถสรุป Cost ต่อเดือนได้

            ้ข้อดีของการที่ได้ค่า Cost หรือหน่วยที่เราใช้ไฟฟ้ามานี้ เราสามารถนำไปใช้คำนวณค่าไฟร่วมกับอุปกรณ์ใช้ไฟอื่นๆได้อีก (กรณีที่อยากหาค่าการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยตามเรตการคิดจริงอีกที) โดยตรงนี้เราสามารถเอาค่า Cost ประมาณการใส่แทนสูตรคำนวณค่าไฟได้เลย โดยไม่ต้องมานั่งคิดค่า Watt ให้งง เพราะในมือเรามีค่าการใช้งานเฉลี่ยต่อชั่วโมงไว้แล้วว่าถ้าเล่นเน็ต 1 ชั่วโมง ใช้ไฟไปกี่หน่วย เล่นเกม 1 ชั่วโมง ใช้ไฟไปกี่หน่วย (คงไม่มีเล่นเกม 10 นาทีเลิกแน่ๆ) สามารถแทนค่าใช้ตารางสำหรับเก็บข้อมูลรายเดือนได้เลยครับ สะดวกดีมาก

            ทีนี้จะลองคิดถึงเรื่องการลดค่าไฟครับ
            ถ้าใครอยู่บ้านคนเดียวใช้ไฟคนเดียวจะง่ายหน่อย เปิดตารางเรตค่าไฟต่อหน่วยดูเทียบคร่าวได้เลย ว่าเราจะต้องใช้ไฟอะไรเท่าไหร่ยังไง รวมแล้วอย่าให้เกินเรตค่าไฟที่ช่วงหน่วยต่างๆ เช่น ค่าไฟ 5 หน่วยแรก, 10 หน่วยถัดไป 3 ช่วง (10 10 10), 65 หน่วย, 50 หน่วย จนไปถึงเรตเกิน 150 หน่วยขึ้นไป (ไรพวกนั้น)

            กรณีของ PC เมื่อเรามีข้อมูลก่อนหน้านี้ ว่าเราเล่นเว็บเสียกี่หน่วย เล่นเกมเสียกี่หน่วย ก็ลองมาย้อนสูตรดูว่า ต้องเล่นเกมให้น้อยลงหรือเปล่า ลดชั่วโมงการเล่นเว็บบอร์ดลงหน่อยหรือเปล่า จำกัดการใช้งาน PC แบบเปล่าประโยชน์บางช่วงเวลาหรือเปล่า หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ไฟน้อยลง เพื่อลดหน่วยค่าไฟหรือเปล่า ซึ่งจะสามารถช่วยเราวางแผนค่าไฟได้ว่า เดือนนี้ต้องใช้ไฟให้อยู่ในช่วงเรตค่าไฟเท่าไหร่ ที่เห็นชัดๆเลยก็ระหว่าง 149 หน่วย กับ 151 หน่วย ค่าไฟก็กระโดดแล้วครับ

            แล้วเมื่อเราได้ข้อมูลตัวเลขค่าไฟคร่าวๆมา เราก็จะสามารถคำนวณค่าไฟยาวๆ 1 ปีได้ จากนั้นใครที่มีปัญหาเรื่องค่าไฟกับค่าอุปกรณ์คอม ก็ลองนำค่าอุปกรณ์ไปคำนวณรวมกับค่าไฟดูได้ครับ เช่นว่า ถ้าซื้อ PC ตัวนี้ตั้งแต่ใช้งานมันมา เสียค่าใช้จ่ายรวมไปเท่าไหร่ คุ้มค่ากับการใช้งานไหมเป็นต้น

            โพสต์ยาวไปหน่อย สาระหายหมด

            Comment


            • Comment


              • ท่าน grungust
                ปีที่แล้ว จ่ายค่าไฟที่บ้าน รวมประมาณกี่บาทครับ (หรือมีสวัสดิการ)
                บ้านผม อยู่อาศัยหลังเล็กๆ ค่าไฟประมาณสี่หมื่นบาทครับ

                Comment


                • แล้วพวก socket 2011 สามารถประหยัดไฟได้พอๆกับ i3 i5 ได้บ้างมั๊ย
                  หรืออย่างน้อย จะประหยัดไฟกว่า fx8320/8350 ได้หรือไม่ครับ
                  เพราะเห็นซีพียู i7 กินไฟ 140w ส่วน fx8xxx กินไฟ 125w

                  Comment


                  • สเปค TDP 140w ,125w อัันนี้เป็นเรื่องระบบระบายความร้อนครับ
                    กินไฟ ต้องวัดของจริงเอง เพราะการใช้ไฟจะขึ้นกับการใช้งานจริง
                    เท่าที่ดูรีวิวต่างๆ socket 2011 กินไฟเยอะเหมือนกันครับ

                    Comment


                    • Originally posted by m shifu View Post
                      ท่าน grungust
                      ปีที่แล้ว จ่ายค่าไฟที่บ้าน รวมประมาณกี่บาทครับ (หรือมีสวัสดิการ)
                      บ้านผม อยู่อาศัยหลังเล็กๆ ค่าไฟประมาณสี่หมื่นบาทครับ
                      ผมอาศัยกับครอบครัวครับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเพียบ ค่าไฟตกอยู่ที่ 2200.- ต่อเดือน (แอร์ 2 เครื่องเปิดเกือบทุกคืน) เลยต้องคำนวณหน่วยแยกเฉพาะเครื่องตัวเองแทน

                      Comment


                      • ปกติ คิดค่าไฟต่อหน่วย คิดง่ายๆ ก็เอายอดที่เราจ่ายจริง / จำนวนหน่วยที่เราใช้จริง ตามบิลที่เค้าระบุครับ
                        ท่านลองเอาบิลมาดูนะ ถ้าเดือนละ 2200.- ก็น่าจะแถวๆ 500 หน่วย ตกหน่วยนึงก็ประมาณ 4.4 บาท
                        คือเราไม่ต้องไปดูวิธีคิดของเค้าครับ
                        ดูจากบิล คือ fact เพราะงั้น ดูจากตรงนี้ถูกต้องสุด ง่ายสุด

                        ค่าไฟต่อหน่วยในแต่ละช่วงเวลา ปกติจะเปลี่ยนแปลง +- นิดหน่อย
                        เราจึงควรใช้ค่าเฉลี่ยทั้งปี
                        ก็เอา ยอดที่เราจ่ายจริงทั้งปี / จำนวนหน่วยที่เราใช้จริงทั้งปี
                        เอาตัวเลขนี้มาคิดเป็นค่าไฟครับ

                        สมมุติ ผมจ่ายค่าไฟรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา = 40,000.-
                        ใช้ไฟไป 8,888 หน่วย
                        ค่าไฟก็ = 4.5 บาท/หน่วย
                        ก็เอา 4.5 บาท/หน่วย ตัวนี้ไปคิดค่าไฟครับ

                        Comment


                        • ผมใช้ๆ เดือนละ เกือบๆ 1000 ฿ กว่าๆ ^^
                          คอมฯ เปิดโหลดบิต 24 ชม. ต้องเน้นประหยัดไฟหน่อย เพราะเป็นหอพัก

                          Comment


                          • Originally posted by m shifu View Post
                            ปกติ คิดค่าไฟต่อหน่วย คิดง่ายๆ ก็เอายอดที่เราจ่ายจริง / จำนวนหน่วยที่เราใช้จริง ตามบิลที่เค้าระบุครับ
                            ท่านลองเอาบิลมาดูนะ ถ้าเดือนละ 2200.- ก็น่าจะแถวๆ 500 หน่วย ตกหน่วยนึงก็ประมาณ 4.4 บาท
                            คือเราไม่ต้องไปดูวิธีคิดของเค้าครับ
                            ดูจากบิล คือ fact เพราะงั้น ดูจากตรงนี้ถูกต้องสุด ง่ายสุด

                            ค่าไฟต่อหน่วยในแต่ละช่วงเวลา ปกติจะเปลี่ยนแปลง +- นิดหน่อย
                            เราจึงควรใช้ค่าเฉลี่ยทั้งปี
                            ก็เอา ยอดที่เราจ่ายจริงทั้งปี / จำนวนหน่วยที่เราใช้จริงทั้งปี
                            เอาตัวเลขนี้มาคิดเป็นค่าไฟครับ

                            สมมุติ ผมจ่ายค่าไฟรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา = 40,000.-
                            ใช้ไฟไป 8,888 หน่วย
                            ค่าไฟก็ = 4.5 บาท/หน่วย
                            ก็เอา 4.5 บาท/หน่วย ตัวนี้ไปคิดค่าไฟครับ
                            เดี๋ยวสักเดือนหน้าจะเริ่มทดลองเก็บข้อมูลปริมาณการใช้งานหน่วยต่อเดือนดูซะหน่อยครับ มันมีอะไรหลายๆอย่างที่แต่ละเดือนจะไม่ค่อยเท่ากันเนี่ยสิครับ ก็เลยจะลองหาวิธีการประเมินคร่าวๆจากข้อมูลที่มีดูก่อน

                            ถ้าเก็บข้อมูลได้พอประมาณ จะลองเอาบิลค่าไฟมาเช็คดูอีกทีครับ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ

                            Comment


                            • ถ้าลดตัวคูณลงนี่จะกินไฟลดลงไหมหว่า 3258 ตอนนี้แรงเกินไปหน่อย

                              Comment


                              • xลด=clockลด=ไฟลด

                                Comment

                                Working...
                                X