Update (01/05/2016) เปรียบเทียบ Feeling ระหว่าง Realforce vs Unicomp vs Novatouch
Update (07/03/2016) สาเหตุที่ไม่มีตัวนูน ๆ ตรง F และ J
Update (05/02/2016) การใส่ Keycap Topre แบบธรรมดากับคีย์บอร์ด High profile ข้อมูลอยู่ที่ Rep #3 ครับ
สวัสดีครับชาว overclockzone ทุกท่าน วันนี้ผมจะมารีวิวคีย์บอร์ดที่ใช้ Topre หรือเป็นที่รู้จักกันคือ electrostatic capacitive non-contact keyboard switch ยี่ห้อ Realforce รุ่น 104 UG Hi-Pro
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับผู้ผลิตคีย์บอร์ด Realforce กันก่อนละกันครับ
คีย์บอร์ด Realforce นั้นเป็นคีย์บอร์ดที่ผลิตขึ้นมาโดยบริษัท Topre ชื่อเต็ม ๆ คือ Tokyo Press Kogyo ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายรวมถึงคีย์บอร์ดด้วยโดยบริษัทนี้จะทำคีย์บอร์ดขายอยู่แค่ 2 ยี่ห้อหลัก ๆ ก็คือ Realforce กับ Type Heaven โดยที่ Realforce นั้นเริ่มผลิตเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วไปตั้งแต่ปี 2001 เพียงแต่ก่อนหน้านั้นก็มีการผลิตเพื่อใช้ในองค์กรเหมือนกันเช่นพวกธนาคาร หุ้น โดยใช้กันมาตั้งแต่ปี 1983 ละแหละครับ
นอกจากนี้คีย์บอร์ดที่ใช้ Topre สวิตซ์อีกก็จะมีพวก Happy Hacking Keyboard, Leopold รวมถึง CM Storm Novatouch ด้วยเช่นกันครับ
มาถึงคีย์บอร์ดที่ผมจะรีวิววันนี้กันครับ
คีย์บอร์ดตัวนี้เป็นของยี่ห้อ Realforce ชื่อรุ่น 104UG Hi-Pro ย่อมาจากคำว่า High-Profile ครับ
เป็น Topre switch แบบทรงสูงและปุ่มเป็นแบบ spherical keycap หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปุ่มทรงกลมครับผม Spec ของเจ้าตัวนี้ก็ตามรูปเลยครับ

ลักษณะการกดของรุ่นนี้จะเป็นแบบ Uniform 45g ก็คือใช้น้ำหนักการกดเท่ากันหมดคือ 45g ครับ (แต่ใน spec ก็มีการระบุเอาไว้ว่า + - เหมือนกัน) และเป็นแบบ Soft tactile ก็อารมณ์แบบสัมผัสที่อ่อนนุ่มครับ
เริ่มด้วยการ package
การ package ของ Realforce ตัวนี้หน้าตากล่องจะค่อนข้างธรรมดาไม่มีลวดลายอะไรให้สะดุดตาเป็นพิเศษครับ

แต่ตัวกล่องทำมาได้พอดีกับคีย์บอร์ดพอดีเป๊ะ ไม่หลวมเกินไป หรือแน่นเกินไปแต่อย่างใด เลยทำให้การขนส่งทางไกลค่อนข้างปลอดภัยเลย และด้านในก็จะมีการหุ้มคีย์บอร์ดด้วยซองพลาสติคอีกชั้นนึงเพื่อกันขี้ฝุ่นเข้า

ส่วนอันนี้เป็นหน้าตาเมื่อทำการแกะซองพลาสติคออก

ของที่แถมมาให้ภายในกล่องก็มีเล็กน้อยจริง ๆ ครับ คือคู่มือการรับประกัน กับตัวคีย์บอร์ดแค่ 2 อย่าง
ในส่วนของงานประกอบ
วัสดุที่ใช้ทำเป็นกรอบของตัวคีย์บอร์ดเป็นพลาสติคแบบ ABS สีเทาอ่อน ๆ และมีการขัดผิวให้หยาบ ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงาม

ในส่วนของ logo จะเป็นการเพ้นลงไปในพลาสติคที่ใช้เป็นกรอบเลยครับ ดูแล้วมีความทนทานดี logo นี่บอกทั้งชื่อบริษัทกับยี่ห้อคีย์บอร์ดเลย

ในส่วนของปุ่ม ปุ่มของตัวนี้เป็น PBT (polybutylene terephthalate) ซึ่งจะให้ feeling ที่แตกต่างกับปุ่มแบบ ABS โดยจากความรู้สึกผมคือ มันจะให้สัมผัสที่รู้สึกแน่นกว่าครับ
นอกจากนี้การ paint ตัวอักษรของคีย์บอร์ดรุ่นนี้เป็นแบบ Dye Sublimation คือการเอาสีผสมลงไปในพลาสติคที่ใช้ทำ keycap เลยครับ เลยจะเห็นได้ว่าตัวหนังสือจไม่นูนออกมานอก keycap เลย
ลักษณะของ keycap ตัวนี้จะเป็นการเล่นสีระหว่าง พื้นหลังสีเทา กับตัวหนังสือสีดำครับ มองดูแล้วก็สวยแบบยุคเก่า ๆ ดีครับ


ในส่วนของ Keycap
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า keycap ตัวนี้เป็นแบบ High-Profile และเป็น Spherical keycap ซึ่งเป็นคีย์บอร์ดที่ถูกออกแบบมาเพื่อการพิมพ์โดยเฉพาะ โดยจุดเด่นของ keycap ชนิดนี้ก็คือ
keycap เป็นทรงสูง มีการโค้งเพื่อรับองศาของนิ้วมือ และเป็นร่องกลม ๆ ลงไปเพื่อช่วยให้กด keycap ได้ง่ายขึ้น ซึ่งดู ๆ แล้วก็เหมือนปุ่มพิมพ์ดีดในสมัยก่อนเลยแหละครับ
สังเกตได้จากปุ่ม Backspace ที่มีการโค้งปุ่มลงเล็กน้อยเพื่อรับการกดของนิ้วมือ


ลักษณะพิเศษของ keycap ชนิดนี้อีกอย่างก็คือ ผิวสัมผัสมันจะหยาบ ๆ หน่อยครับ คือถ้าเอามือลูบ ๆ คลำ ๆ บริเวณผิวหน้า keycap จะรู้สึกได้เลยว่ามันหยาบ ๆ
ผมลองถู ๆ ดูแล้วก็รู้สึกดีกับผิวหน้าแบบนี้เป็นพิเศษเลยอ่ะครับ คือมันมีความรู้สึกช่วยให้การพิมพ์มีความกระชับมากขึ้น
อันนี้ผมลองเทียบผิวหน้า keycap ของ Realforce กับ Filco ให้ดูครับ
จะเห็นว่าผิวหน้า keycap ของ Realforce ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีลักษณะหยาบๆ ผิวหน้าไม่เรียบผิดกับของ Filco ที่เรียบสนิท



ส่วนรูปนี้เป็นการเปรียบเทียบให้ดูความแตกต่างของ keycap แบบ ABS ที่เป็นของ Filco กับ PBT ที่เป็น Realforce ครับ

High-Profile layout
จากความพิเศษของ keycap ชนิดนี้แล้ว เมื่อนำมาใส่กับคีย์บอร์ดก็จะทำให้เกิดความโค้งขึ้นของปุ่ม ทำให้ลักษณะการพิมพ์แตกต่างไปจากเดิม
ลักษณะการวางตัวอักษรแบบ High-Profile จะมีการวางพวก F1 - F12 ให้อยู่ต่ำกว่าตัวเลข 1 ถึง + และปุ่ม ctrl, spacebar ก็จะอยู่ต่ำกว่า Shift ทั้งสองข้างครับ

และผมก็ลองทำการเปรียบเทียบองศาของปุ่มระหว่างแบบ High-profile กับแบบทั่วไปดู โดยขอเทียบกับ Filco
โดยจะทำการเปรียบเทียบ 2 แบบคือ แบบปรับระดับความสูงของคีย์บอร์ด (ยกขาตั้งขึ้น) กับแบบไม่ปรับความสูงครับ
แบบแรก แบบไม่ปรับความสูง


จะเห็นว่าของ Filco ระดับของตัวหนังสือจะค่อย ๆ ไล่ระดับแบบขั้นไดขึ้นไปเรื่อย ๆ
แต่ของ Realforce นั้นช่วงแถวกลาง (ไม่นับแถวของ F1 กับ ctrl) จะมีการโค้งเว้าที่ดูเนียนกว่าของ Filco ค่อนข้างมากครับ
และเมื่อลองมาจากทางฝั่งของ numpad ก็จะเห็นองศาของปุ่มในอีกมุมนึง


ของ Filco จะดูราบเรียบไปหมดไร้มิติ แต่ของ Realforce จะมีแค่ตรง numpad กับพวก Insert Home ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน แต่ฝั่งของตัวหนังสือนี่ก็จะโค้งขึ้นต่อเหมือนเดิม
แบบสอง มีการปรับความสูง



ของ Filco ก็จะไม่ค่อยต่างจากไม่ยกขาตั้งซักเท่าไหร่ ก็ราบเรียบเหมือนเดิมเป็นแบบขั้นบันไดขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนของ Realforce นี่ความโค้งของปุ่มในแต่ละแถวจะเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อทำการยกขาตั้งขึ้น
โดยส่วนตัว จากการใช้คีย์บอร์ดมา ผมจะเป็นประเภทที่ต้องยกขาตั้งขึ้นตลอด ไม่งั้นพิมพ์ไม่ถนัด แต่กลับกันพอมาใช้ตัว High Profile ถึงแม้จะไม่ยกขาตั้งขึ้นก็สามารถพิมพ์ได้อย่างเพลิดเพลินเหมือนเดิม
และยิ่งยกขาตั้งขึ้น feeling ในการพิมพ์ก็เปลี่ยนไปอีก โดยจะมีความรู้สึกว่าปุ่มแต่ละปุ่มมันนูนขึ้นมารองรับมือเรา ทำให้ขยับนิ้วมือนิดหน่อยก็สามารถกดถึงแล้วประมาณนั้นเลยครับ อารมณ์แบบทุกปุ่มมันเรียงหน้าเข้ามาที่นิ้วมือเพื่อให้เรากดได้ง่ายขึ้นประมาณนั้นเลย
ถ้าถามว่าชอบแบบไหน อันนี้ตอบค่อนข้างยากครับเพราะแต่ละแบบมันมีเอกลัษณ์เฉพาะตัวจริง ๆ คือถ้าใช้แบบไม่ยก จะอารมณ์คล้าย ๆ กับการจับเมาส์แบบ Claw คือต้องใช้มือของเราในการจิ้มลงไปในแต่ละปุ่ม ยิ่งถ้ากดรัว ๆ ก็เหมือนกับการจิ้มอะไรที่มันนิ่มแต่เด้ง รัว ๆ เลยครับ ส่วนถ้าใช้แบบยกขาตั้งขึ้นจะคล้าย ๆ กับการจับเมาส์แบบ Palm คือวางมืออย่างสบาย ๆ ไม่ต้องอะไรกับมันมากก็สามารถพิมพ์ได้อย่างเพลิดเพลินแล้วประมาณนั้นเลยครับ
- - - Updated - - -
ถัดมาเป็นพระเอกของแหล่งกำเนิด feeling ทั้งหลายแหล่ นั่นก็คือ Topre switch ครับ

ประกอบไปด้วย
- Switch Mounting Plate ที่ทำหน้าที่ครอบตัวสวิตซ์เอาไว้และกันพวกขี้ฝุ่นหรือน้ำหกเข้าไปใน Circuit board
- Key Switch Plunger เป็นแกนที่ทำหน้าที่เสียบกับ Keycap
- Key Switch Housing เป็นตัวครอบที่ยึดตัว Plunger ไว้อีกที

และด้านใต้ของ Plunger คือส่วนที่ทำให้คนใช้เกิดความรู้สึกดี ๆ ในการพิมพ์นั่นก็คือ
- Rubber Dome ทำให้เกิดสัมผัสที่รู้สึกว่าสู้มือ ประมาณว่ามันเด้งกลับสู้นิ้วเรา
- Spring คอยทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณให้กับตัว Capacitive sensor
โดยหลักการคร่าว ๆ จะเป็นการอาศัยหลักการ ความสามารถในการประจุกระแสไฟฟ้า (Capacitance) เมื่อมีแรงกดลงไปจะทำให้เกิดไฟฟ้าขึ้นละก็ถูกตรวจวัดด้วย Capacitive sensor
ส่วนหน้าตาของ Rubber dome ที่ว่ามีหน้าตาแบบนี้เลยครับ
(ยืมรูปมาจาก http://imgur.com/a/JUwMi เนื่องจากผู้เขียนเองลองแกะแล้ว แต่ดันไขน็อตที่ช่วยให้เปิดเผยความลับไม่ได้
)
ฝรั่งเขาเรียกว่า Cloud of moobs

ดู ๆ แล้วเกรดของ Rubber dome ตัวนี้ดีกว่า Rubber dome ทั่วไปที่อยู่ในคีย์บอร์ดรุ่นประหยัดค่อนข้างมากครับ

ถ้ดมาเป็นจุดเด่นของคีย์บอร์ดรุ่น Hi-Pro นั่นก็คือ Topre สวิตซ์จะมีลักษณะแตกต่างจาก Topre ทั่วไปคือจะมี Housing หรือฝาครอบตัวแกนสวิตซ์ Topre ที่สูงกว่า Topre แบบทั่วไปครับ
เพื่อป้องกันไม่ให้แกนมันโยกเวลาพิมพ์ คล้าย ๆ กับการเอาไม้มาค้ำให้แน่นหนาขึ้นครับ โดยตัวที่ไม่มีก็จะเป็นพวกปุ่ม enter shift อะไรพวกนี้ครับ



สำหรับตัว plate จากรูปด้านบนจะเป็นสีดำสนิท ด้านล่างก็คือแผง pcb นั่นเอง แต่แงะให้ดูไม่ได้เพราะดันขันน็อตที่ต่อกับสายดินไม่ออก
- - - Updated - - -
ถัดมาเป็นในส่วนของความรู้สึกที่ได้จาก Topre สวิตซ์ครับ อันนี้อิงจากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ๆ ครับ
จากการที่ทดลองใช้มาประมาณครึ่งเดือน ตอนแรก ๆ ก็ยอมรับเลยว่าไม่ชินกับลักษณะปุ่มแบบนี้จริง ๆ แต่ก็ลองพิมพ์ไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายก็มีความรู้สึกว่ามันสบายมือกว่าพวกปุ่มทรงกระบอกทั่วไปค่อนข้างเยอะครับ
ฟิลลิ่งแรกเริ่มจากการที่ได้สัมผัสมันครั้งแรก ความประทับใจแรกพบนั้นค่อนข้างมีน้อยกว่าตอนที่ได้ไปลองกด Blue สวิตซ์ครั้งแรกอีกครับ แต่ความรู้สึกแรกที่รู้เลยทันทีคือมันเด้งสู้มือจริงๆ
มันเป็นความรู้สึกเด้งที่ไม่แข็งกระด้างแต่มีความนิ่มแฝงเอาไว้ให้รับรู้ด้วยปลายนิ้วครับ พูดง่าย ๆ คือฟิลลิ่งมันให้ความรู้สึกที่เด้งและนุ่ม การเด้งของปุ่มเด้งได้ไวกว่าคีย์บอรดยางทั่วไปเยอะมากครับ
พอใช้ไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มรู้สึกที่จะชอบมันแล้วแหละครับ เพราะว่าสัมผัสที่กดได้ในแต่ละปุ่มมันจะให้ฟิลลิ่งที่ต่างกันเล็กน้อย โดยฟิลลิ่งที่ผมชอบก็ตอนกดฝั่ง numpad นี่แหละครับ มันให้ความรู้สึกที่เพลินดี
สัมผัสมันจะออกแนวใสๆ แรงต้านน้อยกว่าฝั่งปุ่มตัวอักษรเล็กน้อยแต่ก็คงการเด้งอันล้ำเลิศเอาไว้ประมาณนี้เลยครับ
ถ้าให้ผมเปรียบ Topre กับ Mechanical switch (จากที่ผมเคยใช้มาก็มี 4 switch อ่ะครับ Blue ของ Razer Blackwidow, Brown ของ Logitech G710+ และ Red กับ Black ก็เป็นของ Filco)
Mechanical มันจะให้อารมณ์ที่สุดๆ ไปทางใดก็ทางหนึ่งเลยเช่น Blue switch จะได้ความรู้สึกแบบใส ๆ ไม่ค่อยสู้มือ Black แรงต้านเยอะสุด ๆ แต่ไม่ให้ความรู้สึกที่มันเด้งสู้มือ
ส่วน Red กับ Brown ก็เป็นตัวที่ก้ำกึ่งระหว่าง Blue กับ Black นี่แหละครับ
ในส่วนของ Topre switch มันจะให้อารมณ์ที่ผสมผสานกันหลากหลาย ถึงแม้ลองกดไปทีแรกจะไม่แสดงฟิลลิ่งที่ชวนให้ประทับใจสุด ๆ ออกมา แต่ถ้าได้ลองกดไปเรื่อย ๆ จะเกิดความเพลิดเพลินในอารมณ์ที่หลากหลายของมันครับ
หรือถ้ายังนึก feeling มันไม่ออกสำหรับผมก็ประมาณว่าเอา blue มาผสมกับ black switch ครับ คือมีแรงต้าน แต่ไม่ต้องแรงกดเยอะ และอารมณ์ตอนกดลงไปจะใส ๆ แต่มีความนุ่มเพิ่มขึ้นมา ประมาณนี้แหละครับ
เรื่องเสียงของ Topre switch เสียงจะค่อนข้างดัง แต่เบากว่า blue switch เยอะครับ
เสียงมันดังแต่ไม่หนวกหูเท่า blue switch เพราะเสียงมันจะออกแนวทุ้ม ๆ ออกเสียงประมาณ Thock Thock นี่แหละครับ
หรือจะทดลองดูจากคลิปที่ผมทดลองพิมพ์เรื่อยเปื่อยก็ได้ครับ เสียงประมาณนั้นเลย ภาพอาจจะไม่ชัดซักเท่าไหร่เพราะอัดจากกล้องถ่ายรูปราคา 3000 บาท
Update (07/03/2016) สาเหตุที่ไม่มีตัวนูน ๆ ตรง F และ J
Update (05/02/2016) การใส่ Keycap Topre แบบธรรมดากับคีย์บอร์ด High profile ข้อมูลอยู่ที่ Rep #3 ครับ
สวัสดีครับชาว overclockzone ทุกท่าน วันนี้ผมจะมารีวิวคีย์บอร์ดที่ใช้ Topre หรือเป็นที่รู้จักกันคือ electrostatic capacitive non-contact keyboard switch ยี่ห้อ Realforce รุ่น 104 UG Hi-Pro
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับผู้ผลิตคีย์บอร์ด Realforce กันก่อนละกันครับ
คีย์บอร์ด Realforce นั้นเป็นคีย์บอร์ดที่ผลิตขึ้นมาโดยบริษัท Topre ชื่อเต็ม ๆ คือ Tokyo Press Kogyo ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายรวมถึงคีย์บอร์ดด้วยโดยบริษัทนี้จะทำคีย์บอร์ดขายอยู่แค่ 2 ยี่ห้อหลัก ๆ ก็คือ Realforce กับ Type Heaven โดยที่ Realforce นั้นเริ่มผลิตเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้าทั่วไปตั้งแต่ปี 2001 เพียงแต่ก่อนหน้านั้นก็มีการผลิตเพื่อใช้ในองค์กรเหมือนกันเช่นพวกธนาคาร หุ้น โดยใช้กันมาตั้งแต่ปี 1983 ละแหละครับ
นอกจากนี้คีย์บอร์ดที่ใช้ Topre สวิตซ์อีกก็จะมีพวก Happy Hacking Keyboard, Leopold รวมถึง CM Storm Novatouch ด้วยเช่นกันครับ
มาถึงคีย์บอร์ดที่ผมจะรีวิววันนี้กันครับ
คีย์บอร์ดตัวนี้เป็นของยี่ห้อ Realforce ชื่อรุ่น 104UG Hi-Pro ย่อมาจากคำว่า High-Profile ครับ
เป็น Topre switch แบบทรงสูงและปุ่มเป็นแบบ spherical keycap หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปุ่มทรงกลมครับผม Spec ของเจ้าตัวนี้ก็ตามรูปเลยครับ

ลักษณะการกดของรุ่นนี้จะเป็นแบบ Uniform 45g ก็คือใช้น้ำหนักการกดเท่ากันหมดคือ 45g ครับ (แต่ใน spec ก็มีการระบุเอาไว้ว่า + - เหมือนกัน) และเป็นแบบ Soft tactile ก็อารมณ์แบบสัมผัสที่อ่อนนุ่มครับ

เริ่มด้วยการ package
การ package ของ Realforce ตัวนี้หน้าตากล่องจะค่อนข้างธรรมดาไม่มีลวดลายอะไรให้สะดุดตาเป็นพิเศษครับ

แต่ตัวกล่องทำมาได้พอดีกับคีย์บอร์ดพอดีเป๊ะ ไม่หลวมเกินไป หรือแน่นเกินไปแต่อย่างใด เลยทำให้การขนส่งทางไกลค่อนข้างปลอดภัยเลย และด้านในก็จะมีการหุ้มคีย์บอร์ดด้วยซองพลาสติคอีกชั้นนึงเพื่อกันขี้ฝุ่นเข้า

ส่วนอันนี้เป็นหน้าตาเมื่อทำการแกะซองพลาสติคออก

ของที่แถมมาให้ภายในกล่องก็มีเล็กน้อยจริง ๆ ครับ คือคู่มือการรับประกัน กับตัวคีย์บอร์ดแค่ 2 อย่าง

ในส่วนของงานประกอบ
วัสดุที่ใช้ทำเป็นกรอบของตัวคีย์บอร์ดเป็นพลาสติคแบบ ABS สีเทาอ่อน ๆ และมีการขัดผิวให้หยาบ ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงาม

ในส่วนของ logo จะเป็นการเพ้นลงไปในพลาสติคที่ใช้เป็นกรอบเลยครับ ดูแล้วมีความทนทานดี logo นี่บอกทั้งชื่อบริษัทกับยี่ห้อคีย์บอร์ดเลย

ในส่วนของปุ่ม ปุ่มของตัวนี้เป็น PBT (polybutylene terephthalate) ซึ่งจะให้ feeling ที่แตกต่างกับปุ่มแบบ ABS โดยจากความรู้สึกผมคือ มันจะให้สัมผัสที่รู้สึกแน่นกว่าครับ
นอกจากนี้การ paint ตัวอักษรของคีย์บอร์ดรุ่นนี้เป็นแบบ Dye Sublimation คือการเอาสีผสมลงไปในพลาสติคที่ใช้ทำ keycap เลยครับ เลยจะเห็นได้ว่าตัวหนังสือจไม่นูนออกมานอก keycap เลย
ลักษณะของ keycap ตัวนี้จะเป็นการเล่นสีระหว่าง พื้นหลังสีเทา กับตัวหนังสือสีดำครับ มองดูแล้วก็สวยแบบยุคเก่า ๆ ดีครับ



ในส่วนของ Keycap
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า keycap ตัวนี้เป็นแบบ High-Profile และเป็น Spherical keycap ซึ่งเป็นคีย์บอร์ดที่ถูกออกแบบมาเพื่อการพิมพ์โดยเฉพาะ โดยจุดเด่นของ keycap ชนิดนี้ก็คือ
keycap เป็นทรงสูง มีการโค้งเพื่อรับองศาของนิ้วมือ และเป็นร่องกลม ๆ ลงไปเพื่อช่วยให้กด keycap ได้ง่ายขึ้น ซึ่งดู ๆ แล้วก็เหมือนปุ่มพิมพ์ดีดในสมัยก่อนเลยแหละครับ
สังเกตได้จากปุ่ม Backspace ที่มีการโค้งปุ่มลงเล็กน้อยเพื่อรับการกดของนิ้วมือ


ลักษณะพิเศษของ keycap ชนิดนี้อีกอย่างก็คือ ผิวสัมผัสมันจะหยาบ ๆ หน่อยครับ คือถ้าเอามือลูบ ๆ คลำ ๆ บริเวณผิวหน้า keycap จะรู้สึกได้เลยว่ามันหยาบ ๆ
ผมลองถู ๆ ดูแล้วก็รู้สึกดีกับผิวหน้าแบบนี้เป็นพิเศษเลยอ่ะครับ คือมันมีความรู้สึกช่วยให้การพิมพ์มีความกระชับมากขึ้น
อันนี้ผมลองเทียบผิวหน้า keycap ของ Realforce กับ Filco ให้ดูครับ
จะเห็นว่าผิวหน้า keycap ของ Realforce ถ้าสังเกตดี ๆ จะมีลักษณะหยาบๆ ผิวหน้าไม่เรียบผิดกับของ Filco ที่เรียบสนิท



ส่วนรูปนี้เป็นการเปรียบเทียบให้ดูความแตกต่างของ keycap แบบ ABS ที่เป็นของ Filco กับ PBT ที่เป็น Realforce ครับ

High-Profile layout
จากความพิเศษของ keycap ชนิดนี้แล้ว เมื่อนำมาใส่กับคีย์บอร์ดก็จะทำให้เกิดความโค้งขึ้นของปุ่ม ทำให้ลักษณะการพิมพ์แตกต่างไปจากเดิม

ลักษณะการวางตัวอักษรแบบ High-Profile จะมีการวางพวก F1 - F12 ให้อยู่ต่ำกว่าตัวเลข 1 ถึง + และปุ่ม ctrl, spacebar ก็จะอยู่ต่ำกว่า Shift ทั้งสองข้างครับ

และผมก็ลองทำการเปรียบเทียบองศาของปุ่มระหว่างแบบ High-profile กับแบบทั่วไปดู โดยขอเทียบกับ Filco
โดยจะทำการเปรียบเทียบ 2 แบบคือ แบบปรับระดับความสูงของคีย์บอร์ด (ยกขาตั้งขึ้น) กับแบบไม่ปรับความสูงครับ
แบบแรก แบบไม่ปรับความสูง


จะเห็นว่าของ Filco ระดับของตัวหนังสือจะค่อย ๆ ไล่ระดับแบบขั้นไดขึ้นไปเรื่อย ๆ
แต่ของ Realforce นั้นช่วงแถวกลาง (ไม่นับแถวของ F1 กับ ctrl) จะมีการโค้งเว้าที่ดูเนียนกว่าของ Filco ค่อนข้างมากครับ
และเมื่อลองมาจากทางฝั่งของ numpad ก็จะเห็นองศาของปุ่มในอีกมุมนึง


ของ Filco จะดูราบเรียบไปหมดไร้มิติ แต่ของ Realforce จะมีแค่ตรง numpad กับพวก Insert Home ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน แต่ฝั่งของตัวหนังสือนี่ก็จะโค้งขึ้นต่อเหมือนเดิม
แบบสอง มีการปรับความสูง



ของ Filco ก็จะไม่ค่อยต่างจากไม่ยกขาตั้งซักเท่าไหร่ ก็ราบเรียบเหมือนเดิมเป็นแบบขั้นบันไดขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนของ Realforce นี่ความโค้งของปุ่มในแต่ละแถวจะเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อทำการยกขาตั้งขึ้น
โดยส่วนตัว จากการใช้คีย์บอร์ดมา ผมจะเป็นประเภทที่ต้องยกขาตั้งขึ้นตลอด ไม่งั้นพิมพ์ไม่ถนัด แต่กลับกันพอมาใช้ตัว High Profile ถึงแม้จะไม่ยกขาตั้งขึ้นก็สามารถพิมพ์ได้อย่างเพลิดเพลินเหมือนเดิม
และยิ่งยกขาตั้งขึ้น feeling ในการพิมพ์ก็เปลี่ยนไปอีก โดยจะมีความรู้สึกว่าปุ่มแต่ละปุ่มมันนูนขึ้นมารองรับมือเรา ทำให้ขยับนิ้วมือนิดหน่อยก็สามารถกดถึงแล้วประมาณนั้นเลยครับ อารมณ์แบบทุกปุ่มมันเรียงหน้าเข้ามาที่นิ้วมือเพื่อให้เรากดได้ง่ายขึ้นประมาณนั้นเลย
ถ้าถามว่าชอบแบบไหน อันนี้ตอบค่อนข้างยากครับเพราะแต่ละแบบมันมีเอกลัษณ์เฉพาะตัวจริง ๆ คือถ้าใช้แบบไม่ยก จะอารมณ์คล้าย ๆ กับการจับเมาส์แบบ Claw คือต้องใช้มือของเราในการจิ้มลงไปในแต่ละปุ่ม ยิ่งถ้ากดรัว ๆ ก็เหมือนกับการจิ้มอะไรที่มันนิ่มแต่เด้ง รัว ๆ เลยครับ ส่วนถ้าใช้แบบยกขาตั้งขึ้นจะคล้าย ๆ กับการจับเมาส์แบบ Palm คือวางมืออย่างสบาย ๆ ไม่ต้องอะไรกับมันมากก็สามารถพิมพ์ได้อย่างเพลิดเพลินแล้วประมาณนั้นเลยครับ
- - - Updated - - -
ถัดมาเป็นพระเอกของแหล่งกำเนิด feeling ทั้งหลายแหล่ นั่นก็คือ Topre switch ครับ


ประกอบไปด้วย
- Switch Mounting Plate ที่ทำหน้าที่ครอบตัวสวิตซ์เอาไว้และกันพวกขี้ฝุ่นหรือน้ำหกเข้าไปใน Circuit board
- Key Switch Plunger เป็นแกนที่ทำหน้าที่เสียบกับ Keycap
- Key Switch Housing เป็นตัวครอบที่ยึดตัว Plunger ไว้อีกที

และด้านใต้ของ Plunger คือส่วนที่ทำให้คนใช้เกิดความรู้สึกดี ๆ ในการพิมพ์นั่นก็คือ
- Rubber Dome ทำให้เกิดสัมผัสที่รู้สึกว่าสู้มือ ประมาณว่ามันเด้งกลับสู้นิ้วเรา

- Spring คอยทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณให้กับตัว Capacitive sensor
โดยหลักการคร่าว ๆ จะเป็นการอาศัยหลักการ ความสามารถในการประจุกระแสไฟฟ้า (Capacitance) เมื่อมีแรงกดลงไปจะทำให้เกิดไฟฟ้าขึ้นละก็ถูกตรวจวัดด้วย Capacitive sensor
ส่วนหน้าตาของ Rubber dome ที่ว่ามีหน้าตาแบบนี้เลยครับ
(ยืมรูปมาจาก http://imgur.com/a/JUwMi เนื่องจากผู้เขียนเองลองแกะแล้ว แต่ดันไขน็อตที่ช่วยให้เปิดเผยความลับไม่ได้

ฝรั่งเขาเรียกว่า Cloud of moobs


ดู ๆ แล้วเกรดของ Rubber dome ตัวนี้ดีกว่า Rubber dome ทั่วไปที่อยู่ในคีย์บอร์ดรุ่นประหยัดค่อนข้างมากครับ

ถ้ดมาเป็นจุดเด่นของคีย์บอร์ดรุ่น Hi-Pro นั่นก็คือ Topre สวิตซ์จะมีลักษณะแตกต่างจาก Topre ทั่วไปคือจะมี Housing หรือฝาครอบตัวแกนสวิตซ์ Topre ที่สูงกว่า Topre แบบทั่วไปครับ
เพื่อป้องกันไม่ให้แกนมันโยกเวลาพิมพ์ คล้าย ๆ กับการเอาไม้มาค้ำให้แน่นหนาขึ้นครับ โดยตัวที่ไม่มีก็จะเป็นพวกปุ่ม enter shift อะไรพวกนี้ครับ



สำหรับตัว plate จากรูปด้านบนจะเป็นสีดำสนิท ด้านล่างก็คือแผง pcb นั่นเอง แต่แงะให้ดูไม่ได้เพราะดันขันน็อตที่ต่อกับสายดินไม่ออก
- - - Updated - - -
ถัดมาเป็นในส่วนของความรู้สึกที่ได้จาก Topre สวิตซ์ครับ อันนี้อิงจากประสบการณ์ส่วนตัวล้วน ๆ ครับ
จากการที่ทดลองใช้มาประมาณครึ่งเดือน ตอนแรก ๆ ก็ยอมรับเลยว่าไม่ชินกับลักษณะปุ่มแบบนี้จริง ๆ แต่ก็ลองพิมพ์ไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายก็มีความรู้สึกว่ามันสบายมือกว่าพวกปุ่มทรงกระบอกทั่วไปค่อนข้างเยอะครับ
ฟิลลิ่งแรกเริ่มจากการที่ได้สัมผัสมันครั้งแรก ความประทับใจแรกพบนั้นค่อนข้างมีน้อยกว่าตอนที่ได้ไปลองกด Blue สวิตซ์ครั้งแรกอีกครับ แต่ความรู้สึกแรกที่รู้เลยทันทีคือมันเด้งสู้มือจริงๆ
มันเป็นความรู้สึกเด้งที่ไม่แข็งกระด้างแต่มีความนิ่มแฝงเอาไว้ให้รับรู้ด้วยปลายนิ้วครับ พูดง่าย ๆ คือฟิลลิ่งมันให้ความรู้สึกที่เด้งและนุ่ม การเด้งของปุ่มเด้งได้ไวกว่าคีย์บอรดยางทั่วไปเยอะมากครับ
พอใช้ไปเรื่อย ๆ ก็เริ่มรู้สึกที่จะชอบมันแล้วแหละครับ เพราะว่าสัมผัสที่กดได้ในแต่ละปุ่มมันจะให้ฟิลลิ่งที่ต่างกันเล็กน้อย โดยฟิลลิ่งที่ผมชอบก็ตอนกดฝั่ง numpad นี่แหละครับ มันให้ความรู้สึกที่เพลินดี
สัมผัสมันจะออกแนวใสๆ แรงต้านน้อยกว่าฝั่งปุ่มตัวอักษรเล็กน้อยแต่ก็คงการเด้งอันล้ำเลิศเอาไว้ประมาณนี้เลยครับ
ถ้าให้ผมเปรียบ Topre กับ Mechanical switch (จากที่ผมเคยใช้มาก็มี 4 switch อ่ะครับ Blue ของ Razer Blackwidow, Brown ของ Logitech G710+ และ Red กับ Black ก็เป็นของ Filco)
Mechanical มันจะให้อารมณ์ที่สุดๆ ไปทางใดก็ทางหนึ่งเลยเช่น Blue switch จะได้ความรู้สึกแบบใส ๆ ไม่ค่อยสู้มือ Black แรงต้านเยอะสุด ๆ แต่ไม่ให้ความรู้สึกที่มันเด้งสู้มือ
ส่วน Red กับ Brown ก็เป็นตัวที่ก้ำกึ่งระหว่าง Blue กับ Black นี่แหละครับ
ในส่วนของ Topre switch มันจะให้อารมณ์ที่ผสมผสานกันหลากหลาย ถึงแม้ลองกดไปทีแรกจะไม่แสดงฟิลลิ่งที่ชวนให้ประทับใจสุด ๆ ออกมา แต่ถ้าได้ลองกดไปเรื่อย ๆ จะเกิดความเพลิดเพลินในอารมณ์ที่หลากหลายของมันครับ

หรือถ้ายังนึก feeling มันไม่ออกสำหรับผมก็ประมาณว่าเอา blue มาผสมกับ black switch ครับ คือมีแรงต้าน แต่ไม่ต้องแรงกดเยอะ และอารมณ์ตอนกดลงไปจะใส ๆ แต่มีความนุ่มเพิ่มขึ้นมา ประมาณนี้แหละครับ
เรื่องเสียงของ Topre switch เสียงจะค่อนข้างดัง แต่เบากว่า blue switch เยอะครับ
เสียงมันดังแต่ไม่หนวกหูเท่า blue switch เพราะเสียงมันจะออกแนวทุ้ม ๆ ออกเสียงประมาณ Thock Thock นี่แหละครับ
หรือจะทดลองดูจากคลิปที่ผมทดลองพิมพ์เรื่อยเปื่อยก็ได้ครับ เสียงประมาณนั้นเลย ภาพอาจจะไม่ชัดซักเท่าไหร่เพราะอัดจากกล้องถ่ายรูปราคา 3000 บาท

Comment