1.ไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคล 4 เส้นทาง ได้แก่ 1."ไหว้พระเสริมสิริมงคล 9 พระอารามหลวง" ซึ่งประกอบด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เพื่อให้จิตใจสะอาดดุจพระรัตนตรัย, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เพื่อให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุข, วัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล, วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้พบแต่สิ่งดีงาม, วัดชนะสงคราม เพื่อให้มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง, วัดสระเกศ เพื่อเสริมสร้างความคิดอันเป็นสิริมงคล, วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้ชีวิตรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน, วัดระฆังโฆสิตาราม เพื่อให้มีชื่อเสียงโด่งดัง, วัดกัลยาณมิตร เพื่อให้เดินทางปลอดภัย
นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 เส้นทางคือ "ไหว้กษัตริย์ 9 พระองค์", "ไหว้พระ 9 รัชกาล" และ "ไหว้พระ 9 วัด ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา" เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตในปีใหม่ด้วยความสุขสงบทางใจและสติปัญญาในการใช้ชีวิต โดยสามารถรับคู่มือรายละเอียดเส้นทางทั้งหมดได้ที่ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" สำนักงานใหญ่
2.อร่อยดีกินฟรีทั้งตลาดที่ตลาดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี และแสดงให้เห็นพลังของคนในท้องถิ่นที่ร่วมมือกันหาทางอนุรักษ์ จนกระทั่งฟื้นคืนชีวิตให้กับชุมชนได้อีกครั้งโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญ
3.เทศกาลกินปลาและของดีจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งที่ 18 ซึ่งมีชื่อเสียงและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้านอาหารโดยเฉพาะปลาแม่น้ำที่มีหลากหลายชนิดซึ่งมีเมนูขึ้นชื่อคือ "ปลาช่อนแม่ลา" โดยภายในจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การทำหัวปลาต้มเผือกหม้อไฟยักษ์, การประกวดหุ่นปลาสวยงาม ตลอดจนมหรสพต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมนี้ ที่ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
4.รับตะวันที่ผาชะนะได ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ริมฝั่งตะวันออกสุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ชื่อว่าเป็นจุด "รับตะวันก่อนใครในสยาม" ดึงดูดใจด้วยหน้าผาที่ยื่นออกไปรับลมบนที่สูง อากาศหนาวเย็นปกคลุมด้วยป่าสนสองใบ และมีทิวทัศน์งดงาม
5.ไหลโคมล่องโขง ตามความเชื่อที่ว่าการไหลโคมไฟล่องแม่น้ำโขงจะเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดี รวมทั้งเคราะห์โศกต่างๆ ไปกับโคมไฟหรือเส้นผมที่ใส่ลงในโคมล่องแม่น้ำโขงที่ไหลเป็นจุดสุดท้ายก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อรับความโชคดีในวันขึ้นปีใหม่ที่จะมาถึง โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมนี้ที่สวนสาธารณะดอนหินตั้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
6.รับอรุณเบิกฟ้า วันปีใหม่ ณ พนมรุ้ง ที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งภายในประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ดังนั้น ปรางค์ประธานบนยอดจึงเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ
ทั้งนี้ กิจกรรมรับอรุณเบิกฟ้าวันปีใหม่ ณ พนมรุ้ง จะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 05.30 น.โดยขบวนกองบุญจะร่วมกันเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อขอพรพระศิวะ ไหว้พระเมตตาพนมรุ้ง และพิธีบวงสรวงเทวาลัย บริเวณเสานางเรียง
7.อะเมซิ่งโรงเกลือแกรนด์เซลล์ ที่ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา และถือเป็นแหล่งรวมเสื้อผ้ามือสองและข้าวของเครื่องใช้แหล่งใหญ่และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 1 มกราคมนี้จะมีมหกรรมลดราคาสินค้า 20-50 เปอร์เซ็นต์ จากร้านค้าภายในตลาดโรงเกลือและศูนย์การค้าอินโดจีน กว่า 1,000 ร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีการแสดงวัฒนธรรมสองแผ่นดิน "ไทย-กัมพูชา" รวมทั้งกิจกรรมนับถอยหลัง "ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่"
8.เคานต์ดาวน์ที่เหมืองปิล็อก บ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพื้นที่นี้ในอดีตเคยเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่ผู้คนต่างเดินทางมาแสวงโชคด้วยการทำเหมืองแร่ แต่เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปเหมืองแร่ กว่า 50 แห่ง ก็ต้องปิดตัวลงราวปี พ.ศ.2529 และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงาม ประกอบกับวิถีชีวิตผู้คนที่มีความหลายหลาย
ทั้งนี้ "งานสัมผัสอากาศเย็นเด่นในตำนานเหมืองแร่ปิล็อก" จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30-31 ธันวาคมนี้ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมเที่ยวชมธรรมชาติ ขุนเขาและสายหมอก, ชมอุโมงค์การทำเหมืองขุดในอดีต, นิทรรศการ 4 หมู่บ้านพื้นถิ่น ได้แก่ โบอ่อง, อีกต่อง, ชุมชนเนปาล และชุมชนพม่า รวมทั้งการแสดงของชนพื้นเมืองกะเหรี่ยง, พม่า และกิจกรรมนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
9.งานประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่า ณ วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของวิถีชีวิตของผู้คนและการค้าขายริมชายแดนไทย-พม่า ซึ่งในวันที่ 1-2 มกราคมนี้มีกิจกรรมหลากหลายโดยเฉพาะกิจกรรมด้านวัฒนธรรม อาทิ การเดินขบวนแต่งกายชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด ประกอบด้วย ชาวไทยใหญ่, ชาวกะเหรี่ยง, ชาวพม่า, ชาวปะโอ และชาวปะหล่อง, การสาธิตทำข้าวแดง, ข้าวยาคู ตลอดจนการแสดงชนเผ่าของแต่ละชนเผ่า
10."มหัศจรรย์กลางตาปี ตีระฆังข้ามปี ที่สะพานจุลฯ" ณ สะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่สุดในเส้นทางสายใต้สร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสะพานเหล็ก 3 ช่วง รวมความยาวทั้งสิ้น 200 เมตร นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศและของคนในท้องถิ่น
มาเล่นด้วยกันที่ : https://www.duaykan.com
ติดตามข่าวสารได้ที่ : https://www.facebook.com/duaykan
นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 เส้นทางคือ "ไหว้กษัตริย์ 9 พระองค์", "ไหว้พระ 9 รัชกาล" และ "ไหว้พระ 9 วัด ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา" เพื่อเป็นการเริ่มต้นชีวิตในปีใหม่ด้วยความสุขสงบทางใจและสติปัญญาในการใช้ชีวิต โดยสามารถรับคู่มือรายละเอียดเส้นทางทั้งหมดได้ที่ "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" สำนักงานใหญ่
2.อร่อยดีกินฟรีทั้งตลาดที่ตลาดสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี และแสดงให้เห็นพลังของคนในท้องถิ่นที่ร่วมมือกันหาทางอนุรักษ์ จนกระทั่งฟื้นคืนชีวิตให้กับชุมชนได้อีกครั้งโดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญ
3.เทศกาลกินปลาและของดีจังหวัดสิงห์บุรี ครั้งที่ 18 ซึ่งมีชื่อเสียงและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นด้านอาหารโดยเฉพาะปลาแม่น้ำที่มีหลากหลายชนิดซึ่งมีเมนูขึ้นชื่อคือ "ปลาช่อนแม่ลา" โดยภายในจะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ การทำหัวปลาต้มเผือกหม้อไฟยักษ์, การประกวดหุ่นปลาสวยงาม ตลอดจนมหรสพต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมนี้ ที่ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
4.รับตะวันที่ผาชะนะได ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ริมฝั่งตะวันออกสุดของประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้ชื่อว่าเป็นจุด "รับตะวันก่อนใครในสยาม" ดึงดูดใจด้วยหน้าผาที่ยื่นออกไปรับลมบนที่สูง อากาศหนาวเย็นปกคลุมด้วยป่าสนสองใบ และมีทิวทัศน์งดงาม
5.ไหลโคมล่องโขง ตามความเชื่อที่ว่าการไหลโคมไฟล่องแม่น้ำโขงจะเป็นการลอยสิ่งที่ไม่ดี รวมทั้งเคราะห์โศกต่างๆ ไปกับโคมไฟหรือเส้นผมที่ใส่ลงในโคมล่องแม่น้ำโขงที่ไหลเป็นจุดสุดท้ายก่อนออกจากประเทศไทย เพื่อรับความโชคดีในวันขึ้นปีใหม่ที่จะมาถึง โดยกิจกรรมจะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 3 มกราคมนี้ที่สวนสาธารณะดอนหินตั้ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
6.รับอรุณเบิกฟ้า วันปีใหม่ ณ พนมรุ้ง ที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งภายในประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ดังนั้น ปรางค์ประธานบนยอดจึงเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ
ทั้งนี้ กิจกรรมรับอรุณเบิกฟ้าวันปีใหม่ ณ พนมรุ้ง จะเริ่มตั้งแต่เช้าเวลา 05.30 น.โดยขบวนกองบุญจะร่วมกันเดินขึ้นเขาพนมรุ้งเพื่อขอพรพระศิวะ ไหว้พระเมตตาพนมรุ้ง และพิธีบวงสรวงเทวาลัย บริเวณเสานางเรียง
7.อะเมซิ่งโรงเกลือแกรนด์เซลล์ ที่ตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศกัมพูชา และถือเป็นแหล่งรวมเสื้อผ้ามือสองและข้าวของเครื่องใช้แหล่งใหญ่และได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 1 มกราคมนี้จะมีมหกรรมลดราคาสินค้า 20-50 เปอร์เซ็นต์ จากร้านค้าภายในตลาดโรงเกลือและศูนย์การค้าอินโดจีน กว่า 1,000 ร้านค้า นอกจากนี้ ยังมีการแสดงวัฒนธรรมสองแผ่นดิน "ไทย-กัมพูชา" รวมทั้งกิจกรรมนับถอยหลัง "ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่"
8.เคานต์ดาวน์ที่เหมืองปิล็อก บ้านอีต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพื้นที่นี้ในอดีตเคยเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่ผู้คนต่างเดินทางมาแสวงโชคด้วยการทำเหมืองแร่ แต่เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปเหมืองแร่ กว่า 50 แห่ง ก็ต้องปิดตัวลงราวปี พ.ศ.2529 และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงาม ประกอบกับวิถีชีวิตผู้คนที่มีความหลายหลาย
ทั้งนี้ "งานสัมผัสอากาศเย็นเด่นในตำนานเหมืองแร่ปิล็อก" จะจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30-31 ธันวาคมนี้ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมเที่ยวชมธรรมชาติ ขุนเขาและสายหมอก, ชมอุโมงค์การทำเหมืองขุดในอดีต, นิทรรศการ 4 หมู่บ้านพื้นถิ่น ได้แก่ โบอ่อง, อีกต่อง, ชุมชนเนปาล และชุมชนพม่า รวมทั้งการแสดงของชนพื้นเมืองกะเหรี่ยง, พม่า และกิจกรรมนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่
9.งานประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่า ณ วัดไทยวัฒนาราม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของวิถีชีวิตของผู้คนและการค้าขายริมชายแดนไทย-พม่า ซึ่งในวันที่ 1-2 มกราคมนี้มีกิจกรรมหลากหลายโดยเฉพาะกิจกรรมด้านวัฒนธรรม อาทิ การเดินขบวนแต่งกายชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในอำเภอแม่สอด ประกอบด้วย ชาวไทยใหญ่, ชาวกะเหรี่ยง, ชาวพม่า, ชาวปะโอ และชาวปะหล่อง, การสาธิตทำข้าวแดง, ข้าวยาคู ตลอดจนการแสดงชนเผ่าของแต่ละชนเผ่า
10."มหัศจรรย์กลางตาปี ตีระฆังข้ามปี ที่สะพานจุลฯ" ณ สะพานจุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่สุดในเส้นทางสายใต้สร้างขึ้นเพื่อข้ามแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2496 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสะพานเหล็ก 3 ช่วง รวมความยาวทั้งสิ้น 200 เมตร นับเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของประเทศและของคนในท้องถิ่น
มาเล่นด้วยกันที่ : https://www.duaykan.com
ติดตามข่าวสารได้ที่ : https://www.facebook.com/duaykan